การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น คือการใช้กล้องส่องผ่านทางปากเข้าสู่ทางเดินอาหารเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น โรคหลอดอาหาร โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา

  1. แพทย์จะแนะนำและอธินายขั้นตอนการตรวจ ประโยชน์ที่จะได้รับภาวะแทรกซ้อนที่อาจะเกิดขึ้นและให้ผู้ป่วยลงนามยินยอมข้ารับการตรวจ
  2. แจ้งแพทย์หรือพยาบาลเที่ยวกับประวัติ โรคประจำตัว แพ้ยาชา
  3. ก่อนตรวจผู้ป่วยจะต้องงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร
  4. นำผลการตรวจอื่นๆ ที่เคยทำเตรียมมาด้วย

ขั้นตอนการตรวจ

  1. แพทย์หรือพยาบาลผู้ช่วยจะพ่นยาบริเวณผนังคอ เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาคอขณะส่องกล้องเพื่อลดอาการอยากขย้อนและอาเจียน เป็นต้น
  2. ถอดฟันปลอมออกก่อนการส่องกล้อง
  3. ผู้ป่วยนอนตะแคงค้านซ้าย
  4. เมื่อทดสอบว่าในลำคอชาแล้ว แพทย์ผู้ตรวจจะทำการสอดกล้องผ่านปากและช่องคอ เพื่อเข้าสู่หลอดอาหารส่วนต้น ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือ โดยการกลืน จะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนต้นเปิด ช่วยให้กล้องผ่านเข้าสู่หลอดอาหารโดยสะดวก
  5. หายใจข้า-ออกช้าๆ ตามปกติ ปล่อยน้ำลายให้ไหลลงกระพุ้งแก้มด้านซ้าย ซึ่งจะมีผู้ช่วยใช้เครื่องดูดน้ำลายตลอดเวลา ไม่ควรกลืนน้ำลายระหว่างส่องกล้อง เพราะอาจจะทำให้สำลักและไอ
  6. ในระหว่างการตรวจผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นท้องอยากเรอเนื่องจากแพทย์จะเป่าลม เพื่อทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นขยายตัวเพื่อดูรายละเอียดของเยื่อบุทางเดินอาหาร หากมีอาการอึดอัดท้องสามารถรอเอาลมออกมาเป็นระยะได้

การดูแลตนเองภายหลังการตรวจ

  1. หลังจากการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารหลอดคอจะยังชาอยู่ ทำให้สำลักอาหารจำเป็นต้องงดอาหารต่อไปอีก ประมาณ 1/2 – 1 ชม. เมื่อรู้สึกว่าคอหายซาให้ลองจิบน้ำก่อน หากมาสำลักให้รับประทานอาหารได้ตามปกติ
  2. รับประทานยาประจำตัวหรือตามแพทย์สั่ง
  3. มีกิจกรรมเบาๆ ได้
  4. งดการขับรถเอง ควรมีคนขับรถส่งกลับบ้าน
  5. มาตามแพทย์นัด
  6. ในกรณีมีอาการปวดเสียด แน่นท้อง แน่นหน้าอก ปวดบริเวณคอ บริเวณหลังส่วนบน มีไข้ ถ่ายอุจจาระสีดำหรือมีเลือดออกให้พบแพทย์ทันที