โรคเก๊าท์ GOUT

เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมอยู่ตามข้อมาก ทำให้เกิดการอักเสบกรดยูริคอาจตกตะกอนในไตหรือทางเดินปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว หรือไตวายเรื้อรังได้ กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดโรคเก๊าท์ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

อาการ

               จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อ พบใกล้บริเวณหัวแม่เท้า ข้อเท้า ถ้าเป็นนานๆ จะลามไปยังข้ออื่นได้ อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง ในรายที่เป็นมานานอาจจะพบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะขัดจนถึงขึ้นไตวายได้หากมีนิ่วอุดตัน ในบางรายที่เป็นนานๆ จะมีปุ่มปมเกิดบริเวณข้อศอก บริเวณใกล้ข้อต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคเก๊าท์

  1. เจาะเลือดเพื่อการะดับ “กระยูริค” ในเลือด ถ้าสูง 7.5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าสูง ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการข้ออักเสบตามมาในอนาคต
  2. เอกซเรย์ข้อที่ปวดจะพบกรดยูริคสะสมตามข้อจนเป็นเงาขาว
  3. จะเอาน้ำไขข้อมาตรวจเพื่อตรวจดูผลึกยูเรตคริสตัล

การรักษา

  • เมื่อข้ออักเสบ แพทย์จะให้ยารับประทาน เพื่อทำให้อาการปวด บวม ของข้อหายไป
  • แพทย์อาจให้ยาบางชนิด เพื่อลดกระยูริคในเลือด เป็นการป้องกันไม่ให้กรดยูริคตกตะกอน และละลายผลึกยูริคที่พอกพูนอยู่แล้วออกไปให้หมดจะไม่เกิดข้ออักเสบอีก ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษา

ยาที่ใช้มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. ยาระงับอาการข้ออักเสบ

ซึ่งเมื่ออาการทางข้อหายแล้วอาจจะหยุดรับประทานได้

  • ยาลดกรดยูริคในเลือด

     ซึ่งจะต้องรับประทานไปตลอด เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันไม่ให้กรดยูริคไปตกตะกอนที่ข้อหรือไตได้อีก

  • ป้องกันการอักเสบของข้อร่วมด้วยกับยาลดกรดยูริค

     ในระยะเริ่มแรกของการรักษา หากไม่เกิดอาการอักเสบสักระยะหนึ่งแล้ว ก็หยุดยาป้องกันการอักเสบได้ คงให้แต่ยาลดกรดยูริคต่อไป

สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

               โรคนี้สามารถควบคุมให้เป็นปกติได้โดยการคุมอาหารร่วมกับการรับประทานยาอาการอักเสบของข้อ สามารถรักษาให้หายได้หรือป้องกันไม่ให้เป็นอีกได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากปวดข้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคได้โดยใช้ยา บางครั้งอาจใช้การผ่าตัดช่วย เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นนิ่ว

การปฏิบัติตน

               สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์

  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งจะรับประทานติดต่อกันเป็นปีๆ จนกว่าไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริค หากมีอาการท้องเดิน ปวดท้องหรือถ่ายเหลว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหรือโรคไตที่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้กรดยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้ไม่ดีและทำให้ตับสร้างกรดยูริคมากขึ้น ทำให้มีการสะสมของกรดยูริคมากขึ้น
  • งดอาหารพวกเครื่องในสัตว์ เพราะกรดยูริคเป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีนที่พบในตับ ไต สมอง หัวใจ และกระเพาะอาหารของสัตว์

แหล่งอาหาร

               เนื่องจากกรดยูริคจะได้การเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์จึงควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด ในระยะที่โรคกำเริบ

ห้ามกินเด็ดขาด

               หัวใจไก่, ตับไก่, กึ๋นไก่, เซ่งจี้หมู, ตับหมู, ไต, ตับอ่อน, มันสมองวัว, เนื้อ, ไก่, เป็ด, ห่าน, ไข่ปลา, ปลาดุก

“โรคเก๊าท์แม้ไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมได้”