คู่มือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

การนำเลือดที่มีของเสียออกจากตัวผู้ป่วยไปเข้าเครื่องฟอกเลือด เมื่อเลือดเข้าไปในเครื่องจะไหลผ่านตัวกรอง (Dialyzer) สารที่เป็นของเสียจะแพร่ผ่านตัวกรองออกจากเลือดไปและเลือดที่มีของเสียน้อยก็จะไหลกลับสู่ผู้ป่วย เลือดที่จะวนเข้าเครื่องและกลับสู่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนครบเวลา 4 ชั่วโมง โดยการฟอกเลือดจะมีทั้งแบบ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แล้วแต่แผนการรักษาของแพทย์

เส้นฟอกเลือด คืออะไร

               เส้นฟอกเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือ เส้นทางเพื่อนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยไปยังตัวกรองเลือด แล้วนำเลือดกลับสู่ร่างกาย

ประเภทของเส้นฟอกเลือด

  1. ชนิดถาวร (Permanent Vascular Access)

โดยแบ่งเป็น

  1. Arteriovenous Fistula (AVF) เป็นเส้นเลือดที่เกิดจากการต่อเส้นเลือดดำเข้ากับเส้นเลือดแดงของผู้ป่วย โดยเตรียมไว้ก่อนการฟอกเลือดจริงประมาณ 6 เดือน
  2. Synthetic Arteriovenous Graft (AVG) เป็นการผ่าตัดหลอดเลือดแดงและดำโดยใช้ท่อเชื่อมใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเป็นวัสดุธรรมชาติ ซึ่งควรเตรียมไว้ก่อนการฟอกเลือดอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์

การถนอมรักษาเส้นฟอกเลือด

  1. ระวังการติดเชื้อ ไม่เกาหรือแกะสะเก็ดที่บริเวณเส้นเลือดทั้ง AVF,AVG
  2. ห้ามวัดความดันโลหิตและเจาะเลือดแขนที่ทำเส้นเส้นฟอกเลือด
  3. ให้คลำการสั่นสะเทือนของเส้นฟอกเลือดและฟังเสียงฟู่ของเส้นเลือดวันละครั้งเพื่อป้องกันภาวะเส้น ถ้าเส้นเสียงเบาลงต้องไปพบแพทย์
  4. ออกกำลังกายบริหารแขนที่ทำเส้นบ่อยๆ ให้กำมือ + แบบมือ นับ 1-10 แล้วแบออก ทำบ่อยๆ

เส้นฟอกเลือดชั่วคราว

2.1 Noncuffed Double Lumen Catheter ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือใช้ชั่วคราวขณะรอเส้นเลือด AVF หรือ

2.2 Long –Term Catheter เป็นเส้นฟอกเลือดที่สามารถใช้งานได้นานกว่าแบบแรกและไม่ควรใช้เป็น Permanent Vascular Access

การดูแลเส้นฟอกเลือดชนิดชั่วคราว

  1. ห้ามแผลถูกน้ำ ถ้าเกิดถูกน้ำต้องรีบไปทำแผลใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  2. ไม่ใส่เสื้อที่สวมทางศีรษะ เพื่อป้องการดึงรั้งของสาย
  3. ถ้ามีอาการปวดบวมแดงร้อนร่วมกับมีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์
  4. มีเลือดซึมออกจากแผลบริเวณเส้นฟอกเลือดให้มาพบแพทย์