อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยของโรคสมองตีบตัน 1.ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน2.มีอาการชาครึ่งซีกอ่อนแรงและหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว3.มีอาการแขนขาอ่อนแรง ครึ่งซีก ไม่มีแรงยกแขนยกขา4.พูดลำบาก หรือ ฟังไม่เข้าใจ5.การทรงตัวไม่ดี เดินเซ6.กลืนลำบาก สำลักน้ำ7.ปวดศีรษะ รุนแรงทันทีทันใดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาจจะแสดงอาการออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกันส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมอง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเร็วกว่าปกติผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากละเลยการออกกำลังกาย นอกจากนี้ฮอร์โมนบางอย่างโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง จะทำให้หลอดเลือดดำในสมองอักเสบได้ การป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน – งดสูบบุหรี่– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ– ควบคุมอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน– ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์– ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ– หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด– ควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงเพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในเลือดสมองได้การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้เกิดความสำเร็จในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน คือ การทำให้เซลล์ของสมองยังรอดอยู่ให้ได้นานที่สุด ถ้าเราสามารถทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอก็สามารถทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งการรักษานี้จะต้องทำภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) การให้ยานี้ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเท่านั้น หลังจากให้ยาแล้วผู้ป่วยโรคสมองตีบตันควรอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน เพื่อดูอาการต่อไปหากเกิน 3 ชั่วโมงแล้วผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองเพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยมากที่สุด Share الความรู้ทางการแพทย์ السابقة การปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์ الความรู้ทางการแพทย์ التالية โรคภูมิแพ้
คำแนะนำการปฏิบัติตัว และการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก โดยการส่องกล้อง 10 يونيو 2024