ไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกัน

ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์ สายพันธุ์ใดที่พบในเมืองไทย ?

               ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ และมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยทั่วมักจะระบาดในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แตกต่างกัน สำหรับประเทศในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ วัคซีนที่ผลิตขึ้นมาสำหรับแต่ละซีกโลกจึงประกอบไปด้วยสายพันธุ์ไวรัสที่แตกต่างกัน

               สำหรับประเทศไทยพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปีและเพิ่มสูงขึ้นในหน้าฝน เมื่อศึกษาย้อนหลังไปหลายๆ ปี พบว่าวัคซีนที่ใช้สำหรับซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ ของเชื้อที่ระบาดในเมืองไทยได้ใกล้เคียงกันทางปฏิบัติ จึงสามารถเลือกใช้วัคซีนใดก็ได้ โดยแนะนำให้ฉีดก่อนเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดในเมืองไทย

ไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร มีอาการแทรกซ้อนอะไรบ้าง ?

               ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะไข้สูง ( 39-40 องศา ) ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสีย และอาจมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษา

               ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ ( Oseltamivir ) เป็นยาชนิดกิน หากผู่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี

               ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงควรพบแพทย์เพื่อขอรับยาและคำแนะนำโดยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาการจะทุเลาลง และหายป่วยภายใน 5-7 วัน โดยต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • รับประทานยารักษาตามที่แพทย์สั่ง เช่น พาราเซตามอล ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ วิตามิน เป็นต้นและเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
  • ดื่มน้ำสะอาดและผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากเพียงพอ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา
  • ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในห้องที่มีอาการถ่ายเทดี

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญอย่างไรทำไมต้องฉีดทุกปี ?

               การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อไววัสที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้นๆ และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงพอที่จะป้องกันโรคได้อย่างทันท่วงที จึงสมารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดการเสียชีวิตสำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ลดอัตราการป่วย การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดอัตราการขาดงาน ขาดโรงเรียน หรือทำลายแผนการเดินทางในช่วงวันหยุดได้

               วัคซีนที่ผลิตขึ้นมาประกอบด้วยเชื้อไวรัสที่เหมาะสมกับการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะสำหรับปีใดปีหนึ่งเท่านั้น และเนื่องจากภูมิคุ้มกันจากการฉัดวัคซีนโดยทั่วไปจะอยู่ได้ประมาณไม่เกิน 1 ปี หลังจากฉีด องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

ทำไมฉัดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วยังเป็นหวัดอีก ?

ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วยังอาจเป็นหวัดได้อีกเนื่องจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนเป็นไข้หวัดธรรมดา ซึ่งกิดกจากการติดเชื้อไวรัสอื่นที่ไม่ใช่ไวรัสไข้หวัดใหญ่
  • สายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปีนั้นๆ ไม่ตรงกับสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ในวัคซีน
  • ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนไม่ตอบสนองต่อวัคซีน ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนถือเป็นวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่นับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน

ใครบ้างที่ควรฉีดหรือจดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีน ?

บุคคลที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดรุนแรง ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ (>50ปีขึ้นไป)
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวานโรคเอดส์ โรคตับ และโรคไตเรื้อรัง
  • เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี
  • แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่