โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดหลังที่มาจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

“ปัญหาอาการปวดหลัง ชา หรือปวดร้าวไปที่แขนหรือขา”

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ระดับเอว

จะมีอาการปวดหลัง สะโพก หรือปวดร้าวลงขาไปถึงเข่า ข้อเท้าและเท้า อาจมีอาการชา อาการขาอ่อนแรง เกิดได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุ

สาเหตุของโรค

เกิดได้จากความผิดปกติ ช่วงหมอนรองกระดูกสันหลังเองหรือเกิดจากความผิดปกติช่วงหมอนรองกระดูกสันหลังเอง หรือเกิดจากการรับน้ำหนักมาก การนั่งทำงาน และท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเล่นกีฬา ที่หมอนรองกระดูกสันหลังที่ไม่เหมาะสมรับน้ำหนักมากๆ เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้หมอนรองกระดูกรอบนอกฉีกขาด ส่วนในของกระดูกสันหลังจึงเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท

โรคอื่นที่อาการคล้ายโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้แก่

  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ( Myofascial pain syndrome )
  • กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ ( Piriformis syndrome )
  • โรคของข้อต่อกระดูกเชิงกราน ( Diseases of the pelvic joints )

การรักษา

  1. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น การก้มยกของ การแบกของ การอุ้มเด็ก การนั่งงอหรือยืนตัวงอ การใส่รองเท้าส้นสูง
  2. บริหารกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง มีท่าบริหารที่เหมาะสมและออกกำลังกาย
  3. พยายามลดความอ้วน
  4. การใช้เสื้อพยุงหลัง (Lumbur Suppor) ใส่เมื่อมีอาการปวดหลังมากและต้องทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ควรใส่ตลอดเวลา
  5. การทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบ การใช้อัลตราซาวด์ร่วมกับการยึดกล้ามเนื้อ ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
  6. การรับประทานยา
  7. การฉีดยาระงับอาการอักเสบ
  8. การผ่าตัด มีวิธีผ่าตัดหลายวิธี ไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุด หรือใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย