ข้อมูลของอาการ
ผู้ที่สูญเสียจะมีอาการหลักคล้ายอาการของโรคซึมเศร้า คือมีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นอกจากนี้อาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ ยอกรับความเป็นจริงของการสูญเสียไม่ได้ อีกทั้งอาการทางร่างกาย เช่น ปวดท้อง แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ใจเต้นแรง จุกแน่นลำคอ คลื่นไส้ ปากแห้ง อ่อนล้า อาการดานความคิดและพฤติกรรม เช่น ไม่มั่นใจ สับสนความจริง ฝัน โหยหา กระวนกระวายกระสับกระส่าย พยายามหารือเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้ระลึกถึง
ปฏิบัติกิริยาที่เกิดขึ้นโดยปกติที่มีต่อคามสูญเสีย
- ช็อกและปฏิเสธความจริง (Shock & Denial)
- โกรธ (Anger)
- ต่อรอง (Bargaining)
- เศร้า (Depression)
- ยอมรับ (Acceptance)
ปฏิกิริยาเหล่านี้จะไม่เรียงลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือมีสิ่งที่มากระตุ้น
ระยะเวลาที่เศร้าโศกหรือระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวจากความเศร้าจากการสูญเสียแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และไม่ใช่ทุกกคนที่จะผ่านตามนี้ได้สำเร็จ
อาการที่แสดงว่าผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้าที่รุนแรงกว่าปฏิกิริยาปกตอต่อการสูญเสีย
- รู้สึกผิกในเรื่องอื่นๆนอกเหนือจากที่เกี่ยวกับสิ่งที่คิดว่าตนควรทำ หรือไม่ควรทำในช่วงที่ผู้ตายเสียชีวิต
- คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย นอเหนือจากความรู้สึกอยากตายแทน หรือไปพร้อมกับผู้เสียชีวิต
- คิกหมกมุ่นว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย
- มีการเคลื่อนไหวและความคิดช้าอย่างชัดเจน
- มีการบกพร่องของการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆทั้งทางสังคมและการงานอย่างมากเป็นเวลานาน
- มีอาการประสาทหลอน นอกเหนือไปจากการคิดว่าได้ยินเสียง หรือเห็นภาพของผู้ตายเป็นช่วงขณะสั้นๆ ซึ่งอาจพบได้ในปฏิกิริยา
สรุป
ความโศกเศร้าเสียใจที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักเป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก การรับฟังอย่างเข้าใจ การสื่อสารที่แสดงความเห็นอกเห็นใจและท่าทางยอมรับให้เกียรติจะสามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญภาวะดังกล่าว ปรับตัว ยอกรับและกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายที่ต้องการความช่วยเหลือในการปรับตัวกับการสูญเสียนั้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้าพบผู้เชี่ยวชาญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการรุนแรงที่สงสัยถึงโรคซึมเศร้า