ภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝง (THALASSEMIA TRAIT)

ภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝง

คือ ผู้ที่มียีนส์ธาลัสซีเมียอยู่เพียงข้างเดียวของโครโมโซม (Chomosome) ซึ่งจะไม่มีอาการทางคลินิกใดๆทั้งสิ้น ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เกิดความผิดปกติที่โครโมโซมทำให้มีการสร้างฮีโมโกลบินลดลงหรือไม่สร้างเลย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝง (Thalassemia Trait) ความผิดปกติเพียงข้างเดียวของโครโมโซมสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ แต่ไม่มีอาการทางคลินิก ไม่ต้องรักษา
  2. โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia disease) ความผิดปกติทั้งสองข้างของโครโมโซมสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ และมีการสร้างเม็ดเลือดแดง ผิดปกติเกิดภาวะซีดเรื้อรัง

ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคเลือดธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

  • ซีดโลหิตจาง
  • โหนกแก้มสูง
  • หน้าผากโหนก
  • ตาเหลือง
  • ตั้งจมูกแฟบ
  • ผิวหนังคล้ำเพราะมีธาตุเหล็กมากในร่างกาย
  • ตัวเล็กผิดปกติ
  • ท้องโตเพราะม้าม/ตับโต
  • อาจไม่มีความเจริญทางเพศ
  • อาจมีแผลเรื้อรังที่ขา

ภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝง มีข้อเสียอย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝงนั้น จะไม่พบความผิดปกติๆที่พิเศษกว่าบุคคลทั่วไปก็ไม่จำเป็นรับการรักษา แต่อันตรายอาจเกิดกับลูก แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดามีภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝงแล้วถ่ายทอดโครโมโซมผิดปกติไปให้ลูก ลูกอาจจะเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียได้

การป้องกันโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรง

               มีเป้าหมายที่ค้นหาคู่สมรสที่มีภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝงทั้คู่ และมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นโรคเลือดจาง ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมาก ได้แก่

  • Hydrops fetalis
  • Major B thalassemia
  • B thalassemia / HbE disease

ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าคู่สมรสที่มีภาวะธาลัสซีเมียแอบแฝงทุกคู่จะมีความเสี่ยงดังกล่าว เพราะในประเทศไทยมีความหลากหลายของภาวะธาลัวซีเมียแอบแฝง สมควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูล

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นธาลัสซีเมียแอบแฝง

  • โอกาสที่ลูกจะเป็นโรค เท่ากับ 25% หรือ 1 ใน 4
  • โอกาสที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียแอบแฝง เท่ากับ 50% หรือ 2 ใน 4
  • โอกาสที่จะมีลูกผิดปกติ เท่ากับ 25% หรือ 1 ใน4

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นธาลัสซีเมียแอบแฝงเพียงคนเดียว

  • โอกาสที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียแอบแฝง เท่ากับ 50% หรือ 1 ใน 2
  • โอกาสที่จะมีลูกผิดปกติเท่ากับ 50% หรือ 1 ใน 2