คำนี้ย่อมาจากคำว่า No mobile phone phobia แปลตรงตัวว่า ความกลัวการไม่มีมือถือ บัญญัติขึ้นโดยหน่วยงานวิจัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 2010 (พ.ศ.2553) ซึ่งเทียบเคียงได้กับอาการของโรควิตกกังวลประเภท "หวาดกลัวเฉพาะอย่าง" (Specific phobia) ตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคขององค์การอนามัยโลก
อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลอย่างมากจนเกิดอาการต่างๆต่อไปนี้
- หงุดหงิด กระวนกระวาย หวาดหวั่นตกใจกลัว
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจถี่ หอบเหนื่อย
- มือสั่น ตัวสั่น
- เหงื่อออก
- มึนงง อาจถึงขั้น สับสน โวยวาย
- ควบคุมสตีไม่ได้
นอกจากนั้นยังมีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ไต้หลายอย่าง เช่น
- ซึมเศร้า
- ตื่นตระหนก
- หวาดกลัว
- รู้สึกเหงาอย่างมาก อ้างว้าง โดดเดี่ยวถูกทอดทิ้ง ต้องการให้มีใครสักคนมาอยู่ใกล้ๆ
- ชาดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกตนเองไม่มีค่า
สาเหตุ
เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
1. บุคลิกภาพ
- ลักษณะบางอย่างของการใช้มือถือสามารถบ่งบอกถึง อุปนิสัย หรือบุคลิกภาพของผู้นั้นได้ เช่น
การโพสต์เรื่องราวของตัวเองเป็นประจำทุกวัน วันละหลายๆครั้ง มีแนวโน้มว่าเป็นคนชอบแสดงออก เปิดเผย (Extrovert)
- เรื่องราวที่มีความหมายในเชิงโอ้อวด เช่น แสดงฐานะร่ำรวย ความสำเร็จในหน้าที่การงาน อาจสะท้อนถึงความรู้สึกต่ำต้อย (inferior) ในจิตใต้สำนึก หรือ ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง (Low self-esteem)
- การก้มหน้าจ้องมองที่หน้าจอมือถือเป็นเวลานานๆ ในที่สาธารณะโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบข้าง อาจบ่งบอกถึงความรู้สึกตื่นกลัวต่อคนแปลกหน้า กลัวสังคม ขาดความชื่อมั่นในตนอง หรือ การมีบุคลิกภาพ
2. โรคทางจิตเวชบางอย่าง
จากการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มคนปกติกับกลุ่มที่เป็นโรคทางจิตเวชบางอย่างพบว่า คนที่เป็นโรคต่อไปนี้ จะมีอาการของโรคโนโมโฟเบียได้ง่ายกว่ากลุ่มคนปกติ
- โรคแพนิค (Panic Disorder)
- โรคกลัวสังคม (Social Phobia)
- โรควิตกกังวลเวลาอยู่ในสังคม (Social Anxiety Disorder)
"โมโนโฟเบีย" เป็นอาการของโรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลอย่างมากเวลาที่ไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว เช่น ลืมไว้ที่บ้าน จำไม่ได้ว่าลืมไว้ที่ไหน รวมถึงสถานการณ์อื่นๆ เช่น อยู่ในที่ซึ่งไม่มีคลื่นสัญญาณ แบตเตอรี่หมด ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดกระวนกระวายอย่างมาก หวาดหวั่น ตกใจกลัวจนตัวสั่น เหงื่อออก
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว จนไม่สามารถเรียน ทำงาน หรือทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ต่อไปได้
การวินิจฉัย
คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีมือถือติดตัวตลอดเวลา โดยมีความแตกต่างของการใช้งาน 2 ประการคือ
- วัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น พูดคุยเรื่องส่วนตัว ติดต่อค้าขาย สั่งงาน ดูหนังฟังเพลง เล่นโซเชียลมีเดียต่างๆ ความถี่ของการใช้ ดังนั้น การที่จะตัดสินว่า บุคคลใดมีความผิตปกติถึงขั้นเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากลักษณะของการใช้มือถือทั้งสองประการดังกล่าว ร่วมกับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การเรียนการทำงานชีวิตทางสังคมหากมีผลกระทบย่อมหมายความว่าบุคคลผู้นั้นป่วยเป็นโรคนี้แล้ว และจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาต่อไป หากปล่อยทิ้งไว้ อาการอาจมากขึ้นจนไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้
ผลกระทบร่างกาย
นิ้วล็อค เกิดจากการใช้นิ้วมือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ วันละหลายชั่วโมงอาจทำให้มีอาการปลายนิ้วชากำนิ้วมือแล้วเหยียดออกไม่ได้ปวดข้อมือเนื่องจากเอ็นอักเสบ
ปวดเมื่อย คอ บ่า ไหล่ เนื่องจากนั่งก้มหน้านานๆ อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
ระบบสายตา เริ่มจากอาการตาแห้ง เคืองตา ปวดกระบอกตา จอประสาทตาเสื่อมหรือหลุดลอก วุ้นในตาเสื่อม ซึ่งรักษายากหรืออาจจะรักษาไม่หาย
หมอนรองกระดูก เสื่อมก่อนวัยเนื่องจากการนั่งผิดทำ ลำตัวไม่ตั้งตรง ก้มหน้าตลอดเวลาสุขภาพโดยรวมทรุดโทรม เช่นความตันโลหิตสูง เบาหวาน น้ำหนักตัวมากเกินปกติ เจ็บป่วยเป็นประจำ
การรักษา ใช้ 2 วิธีร่วมกัน คือ
ยา เพื่อลดอาการต่างๆในระหว่างที่พยายามลดการใช้มือถือลง ยาที่ใช้นั้นมี อยู่ 2 ประเภท คือยาคลายเครียดและยาคลายเศร้า ซึ่งยาทั้ง 2 ประเภทนี้จะช่วยลดอาการหงุดหงิด กระวนกระวายใต้อย่างมาก ซึ่งมีความจำเป็นในระยะแรกของการรักษาโดยแพทย์ (จิตแพทย์) จะอธิบายวิธีการใช้ยา ระยะเวลาของการรักษา และรายละเอียดอื่นๆ
พฤติกรรมบำบัด โดยแพทย์จะ แนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยลดความถี่ของการใช้มือถือลง ได้แก่ การกำหนดกิจกรรมทางเลือก งานอดิเรก วิธีปรับเปลี่ยนความคิดการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม เป็นต้น
การป้องกัน
เริ่มจากการสร้างความตระหนักว่า วัตถุประสงค์หลักของใช้มือถือคืออะไรและตอบคำถาม ตัวเองว่า การใช้งานจริงในแต่ละวันเป็นอย่างไร มีสัดส่วนการใช้งานที่เหมาะสมหรือไม่ หากไม่จะแก้ไขในส่วนใดบ้าง กำหนดจำนวนครั้งและเวลาการใช้มือถือที่นอกเหนือจากการโทรศัพท์หากิจกรรมทางเลือกทำให้มากขึ้น เช่นออกกำลังกาย เล่นกีฬา อ่านหนังสือที่ชอบ