อาการนอนกรน อันตรายที่คุณคิดไม่ควรมองข้าม
นอนกรนเกิดจากอะไร
เสียงกรนเกิดจากลมหายใจที่ผ่านช่องคอที่แคบ ทำให้เกิดการสั่นของเพดานอ่อนและเนื้อเยื่อในช่องคอ ถ้าเนื้อเยื่อในช่องคอหย่อนมากหรือต้องใช้แรงในการสุดหายใจมาก เสียงกรนยิ่งดังมาก
สาเหตุของการนอนกรนในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต ส่วนในผู้ใหญ่มักเกิดจากความอ้วนทำให้ช่องคอแคบลง
นอนกรนมีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
นอนจากเสียงดังรบกวนคนข้างเคียงแล้วการนอนกรนยังอาจบั่นทอนสุขภาพของตัวผู้ป่วยเอง ถ้ามีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ผู้ที่นอนกรนมักหลับไม่สนิท บางคนสะดุ้งตื่นบ่อยๆ มีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติในตอนกลางวัน ปวดหัวมึนศีรษะบ่อยๆ ในรายที่มีการหยุดหายใจขณะหลับทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลงเป็นระยะเวลานานๆ อาจมีผลต่อระบบหัวใจและหลอกเลือดระบบหายใจ หรือระบบประสาทได้
ในเด็กอาจมีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน นอนอ้าปาก หายใจแรง ซนมาก หรือ สมาธิสั้นร่วมด้วย
จะทราบได้อย่างไร ว่านอนกรรมธรรมดา หรือ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะทางเดินหายใจอุดกลิ้นขณะนอนหลับ (obstructive Sleep Apnea – 0SA) พบได้บ่อยในเพศชายอัตราส่วนชาย:หญิง = 2:1 การวินิจฉัยภาวะ 0SA อาศัยจากประวัติ การตรวจร่างกายทางหูคอจมูกและการตรวจ sleep Test เพื่อตรวจหาการหยุดหายใจระหว่างที่ผู้ป่วยนอนหลับและประเมินความรุนแรงของการขาดออกซิเจนได้
จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง
การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของการขาดออกซิเจนผู้ที่มีภาวะทางเดินหายใจอุดกลั้นขณะหลับ ควรได้รับการรักษาเพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาว
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ - งดยานอนหลับและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน - หลีกเลี่ยงท่านอนหาย การนอนตะแคงจะช่วยให้เสียงกรนเบาลงและทางเดินหายใจโล่งขึ้น - การใส่เครื่องช่วยนอน (CPAP) ช่วยเพิ่มความดันในทางเดินหายใจ ไม่ให้ช่องคอตีบแคบลงขณะหลับ
การรักษาโดยผ่าตัด
มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่ง เช่น การผ่าตัดต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ในเด็ก การผ่าตัดยกกระซับเพดานอ่อน การผ่าตัดลดขนาดโคนลิ้น เป็นต้น