หลอดเลือดเกิดการตีบ – ตันได้อย่างไร
ปัจจุบันมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้ง - น้ำตาลและไขมันเกินความต้องการ ทำให้มีไขมันสะสมเป็นตะกรันไขมันพอกพูนที่ผนังหลอดเลือดจึงทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตีบ – ตันได้ในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูงในเลือด มากกว่า 200 มก. / เดซิลิตร - ผู้ที่มีภาวะไขมันไตรกลิเซอไรด์สูงในเลือด มากกว่า 160 มก. / เดซิลิตร - ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิต สูงกว่า 140/90 มม.ปรอท - โรคเบาหวาน - โรคอ้วน - การสูบบุหรี่มากเป็นประจำ - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ - ความเครียด
อาการของโรคหัวใจขาดเลือด
- การเจ็บแน่นหน้าออก บางครั้งอาจมีการเจ็บตัวร้าวไปถึงด้ายในของแขนซ้าย คอ และ หลัง - อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหมือนจะเป็นลม เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเย็น ความจำสับสน - หัวใจเต้นผิดปกติ อาจข้าๆ เร็วๆ ไม่สม่ำเสมอ อาจหมดสติได้
อาหารช่วยลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
- ธัญพืช เลือกทานอาหารที่มีกากใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดขาว ขนมปังโฮลวีท - ถั่วและเมล็ดพืช เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ - ปลาที่มีน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเลน้ำลึก หรือปลาน้ำจืด เช่น ปลาแซลมอน ปลาสำลี ปลาสวาย ปลาดุก ปลาซ่อน มีกรดโอเมก้า 3 ซึ่งป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด - ผลไม้และพืชผักสีเหลือง-ส้ม เช่น แครอท มะละกอ มะเขือเทศ มีสารเบตาแครอทีน ผลไม้ มีวิตามินซี และยังมีสารในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังต่อต้านมะเร็งบางชนิดได้ - พืชตระกูลหอมและกระเทียม ช่วยลดโคเลสเตอรอล ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด การติดเชื้อต่างๆ กระเทียมอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง และยังช่วยลดความดันโลหิตได้
อาหารที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
- อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อสัตว์แปรรูปทุกชนิด - อาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง โดนัท เบเกอรี่ต่างๆ - อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ เรื่องดื่มที่ใส่ครีมเทียม นมข้นหวาน
แนวทางการปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยว
- ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน ลดการทานเครื่องในสัตว์ และเนื้อสัตว์แปรรูป ทานปลาเป็นประจำ - ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนประกอบเป็นประจำ - รับประทานเบเกอรี่แต่น้อย รับประทานผลไม้สดแทน - ไม่สูบบุหรี่ - ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ