ทำไมจึงต้องตรวจเต้านมด้วยตนเอง ?
ผู้หญิงทุกคนควรหมั่นตรวจสุขภาพเต้านมของตนเองยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบลักษณะที่เป็นปกติ ของเต้านมตนเองและจะได้ตรวจพบความผิดปกติที่อาจกเกิดขึ้นจากโรคเต้านม โดยเฉพาะอย่ายิ่งโรคมะเร็งเต้านมนอกจากนี้การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีการตรวจที่ง่าย สะดวก ประหยัด และเป็นวิธีแรกที่แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนหันมาเอาใจใส่หมั่นตรวจสุขภาพเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คความผิดปกติของเต้านมที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก่อนที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เขี้ยวชาญเพื่อตรวจเต้านมให้ละเอียดต่อไป โดยพบว่าผู้ป่วยที่ตรวจเต้านมตนเองอย่างสมเสมอ จะทำให้ตรวจพบก้อนเชื้อมะเร็งที่มีขนาดเล็กกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจเด้านบตนเองประจำ
แนะนำให้ผู้หญิงทุกคน ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีวิธีการตรวจดังนี้
- ควรเลือกช่วงเวลาตรวจเป็นช่วง 7-10 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน และควรหลีกเลี่ยงการตรวจในระยะ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีประจำเดือน เนื่องจากเต้านมจะเริ่มมีการคัด ตึง ทำให้ตรวจได้ยาก และได้ผลไม่ดี (ผู้ที่ตัดมดลูกไปแล้ว อาจเลือกตรวจในช่วงที่ไม่มีอาการปวด หรือถึงคัดเต้านม ส่วนผู้ที่อยู่ในวัยหมดระดู สามารถตรวจได้ทุกช่วงเวลา) - ขณะตรวจควรถอดเสื้อ และชุดชั้นในออก (เช่น ขณะอาบน้ำ) - จะตรวจท่านั่ง, ท่ายืนหรือตรวจท่านอนหายก็ได้ - ตรวจที่ละข้าง เริ่มจากข้างใดก่อนก็ได้ - สมมุติให้เต้านมเป็นรูปวงกลมเหมือนกับหน้าปัดนาฬิกา โดยอาศัยตัวเลขบนหน้าปิดนาฬิกาบอกตำแหน่งของเต้านม - วิธีตรวจมีดังต่อไปนี้ - ยืนหน้ากระจก อาศัยการมองตรวจดูรูปร่าง ความสมดุล ของเต้านมทั้งสองข้างว่ามีบริเวณที่ไม่สมดุลกันหรือไม่ - ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ตรวจลักษณะของผิวหนังทั้งเต้านมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เช่นเป็นรอยบุ๋ม, ปูนเปล่งขึ้นมา หรือมีแผล - ตรวจบริเวณหัวนมและป่านนมว่ามีรอยกลอก ค้นบาดแผล หัวนมยุบลง หรือหัวนมบอดไปหรือไม่ - เริ่มคลำโดยใช้ปลายนิ้ว นิ้วกลาง นิ้วนาง ของมือด้านตรงกันข้าม วนที่เต้านมแล้วกดสัมผัสเบาๆ ร่วมกับถูโดยอาจถูวนจากหัวนมออกตามเข็มนาฬิกาไปจนทั่วทั้งเต้านม และให้ตรวจเข้าไปในรักแร้ด้วย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ได้แก่ การตรวจพบการสะดุด, คลำได้เนื้อเยื่อเข็งๆ กดเจ็บหรือคล้ำได้ก้อน - สุดท้ายให้บีบที่หัวนมเบาๆ เพื่อกดสอบดูว่ามีน้ำไหลออกมาทางหัวนมหรือไม่ - หากตรวจพบความผิดปกติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเต้านมทันที เพื่อตรวจเพิ่มเติมโดยละเอียด
ข้อควรจำข้อควรจำ!
- เรียนรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สารารณสุข -ตรวจเต้านมด้วยตนเอเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง - พบแพทย์ทันที่ที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติที่เต้านม - พบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ปีละครั้ง เมื่ออายุ 30 ปี เป็นต้นไป - สุภาพสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม ควรได้รับการตรวจเต้านมโดยละเอียดจากแพทย์ ร่วมกับควรได้รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง อย่างสมเสมอ - ก้อนมะเร็งยิ่งเล็ก ยิ่งมีโอกาสรักษาหายโดยไม่ต้องตัดเต้านมทั้ง