การคลอดก่อนกำหนด

- การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุของการตายของมารดแรกเกิดที่พบบ่อย พบอัตราของทารกก่อนกำหนด 0.49 คน ต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน (ข้อมูล รพ. รามาธิบดี พ.ศ. 2540 – 2548 ) และการดูแลทารกน้ำหนักน้อยต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงซึ่งเป็นภาวะเศรษฐกิจต่อครอบครัว สังคมและระบบสาธารณสุขของประเทศการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์ที่มีการหดรัดของมดลูก อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ทำเกิดการบางตัวลง และ การขยายตัวของปาดมดลูก ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
การคลอดก่อนกำหนด
- หมายถึง กรกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (259 วัน) ของการตั้งครรภ์ ความสมบูรณ์ของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่เมื่อคลอด การคลอดด้วยอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์อาจเสียชีวิต การคลอดการกที่อายุครรภ์น้อยๆ การกมีโอกาสรอดชีวัตแต่อาจมีปัญหาเรื่องการหายใจและจำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นปอดให้ขยาย จึงสาบารถช่วยเรื่องการหายใจของการกได้
อุบัติการณ์
- ประเทศพัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนดพบได้ 5 – 10%. ของการคลอด ส่วนการคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำคร่ำแตกพบได้เพียง 12. ของผู้ตั้งครรภ์ทั้งหมด
ระบาดวิทยา
- การคลอดก่อนกำหนดแบ่งเป็น 4 ชนิด
- การคลอดก่อนกำหนดเมื่อมีข้อบกพร่อง เช่น ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
- การคลอดก่อนกำหนดมีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน เช่น รกลอก
- ตัวก่อนกำหนดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
- การคลอดเองก่อนกำหนด
การวินิจฉัย
- ACO ได้เสนอกฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยการเจ็บครรภ์ ก่อนกำหนดในปี 2540 ดังนี้
- การหดรัดตัวของมดลูกสม่ำเสมอ 4 ครั้ง ใน 20 นาทีหรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
- ปากมดลูกเปิดมากกว่า หรือ เท่ากับ 1 ซ.ม.
- ปากมดลูกบางตัวลดลงมากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 80 และการเปิดขยายของปากมดลูกโดยแพทย์จะทำการตรวจครรภ์ ตรวจการบีบตัวขยายของบดลูก การตรวจอัลตราชาวด์ดูอายุและน้ำหนักของหารถ ตรวจภายในดูการขยายตัวของมดลูก
ปัจจัยเสี่ยง
- 1. มารดา
- อายุ (อายุน้อยกว่า 20 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปี)
- ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ทำงานหนักและรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ไม่มีประโยชน์
- ครรภ์แรก
- การสูบบุหรี่ และสั่งเสพติดอื่นๆ เช่น โคเคน เฮโรอีน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดรกเกาะตำและน้ำเดินก่อนกำหนด
- น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 50 กิโลกรัม และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า0.24 กก./สัปดาห์
- การทำงานหนัก , พักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น ยืนทั้งวัน
- ภาวะเครียด มีผลต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้
- ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม มีประวัติครอบครัวคลอดก่อนกำหนด
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่หักโหมเชื่อว่าลดโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ แต่การออกกำลังกายอย่างหักโหมระยะไตรมาสที่ 3 มีโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้
- 2.ประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอด
- การแท้ง การคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนโดยเฉพาะการแท้งในไตรมาสที่ 2
- การมีเลือดออกในระหว่างการตั้งครรภ์ในอดีต โดยเฉพาะประวัติการมีรดลอกตัวก่อนกำหนดคลอด
- 3.การตั้งครรภ์มีปัจจุบัน
- ครรภ์แฝด ซึ่งพบได้ 2% ของการคลอดทั้งหมด และ 50% ของครรภ์แฝดจะคลอดก่อนกำหนด
- การช่วยเจริญพันธ์
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งคุกคามในระหว่างไตรมาส 1 และ 2 พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่าต่อภาวะนี้
- ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ
- ทารกพิการ เช่น ความพิการที่ไต ผนังหน้าท้องผิดปกติพบว่ามีโอกาสเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น
- ปากมดลูกผิดปกติ
- 4.การติดเชื้อของระบบสืบพันธ์ุ
- หนองใน
- หนองในเทียม
- Bacterial เช่น Ureaplasma
- Beta – heamolytic Streptococci
การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
- ไปตรวจครรภ์ตามนัดเป็นระยะๆ
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับงานที่ทำและผลกระทบอื่นๆ
- พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
- หาวิธีจดจำการบีบตัวของมดลูกจากการใช้มือสัมผัสความสม่ำเสมอจากการบีบตัว
- ระวังการกระตุ้นที่บริเวณหัวนม เนื่องจากสาเหตุให้มดลูกบีบตัว
- ระวังการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบรัดตัว
- ดังนั้นเมื่อทราบความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ถ้าท่ามีอาการดังต่อไปนี้ ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ จะป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ก็ได้ คือ
- ปวดท้อง
- มีมูก
- มีน้ำเดิน ลักษณะ เหมือนปัสสาวะออกทางช่องคลอด
- ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หรือ จุกเสียด
- มีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง
- เด็กดิ้นน้อยลง
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันช่องคลอด
- มีการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ น้อยกว่า 10 นาที ต่อครั้ง
- บวมมากทั้งตัว
การรักษา
- ผู้ป่วยต้องได้รับการนอนพักในโรงพยาบาล แพทย์จะทำการยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด หรือดำเนินการคลอดที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของการ สุขภาพของมารดาและการกศักยภาพของ Intensive Care Nursery ที่สามารถดูแลการถคลอดก่อนกำหนดภาวะติดเชื้อของมารดาและการก การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกและการแตกของถุงน้ำคร่ำ
การยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด
- พักรักษาตัวในโรงพยาบาล และตรวจดูการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง
- นอนบนเตียงตลอดเวลา เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อของมดลูกและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ เพื่อให้ยาทางเส้นเลือดที่จะช่วยลดการบีบตัวของมดลูก
- ตรวจเลือด ปัสสาวะ และมูกจากปากมดลูกเพื่อตรวจการติดเชื้อ
- ทำอัลตราชาวด์ เพื่อตรวจอายุครรภ์ สุขภาพของการก และตรวจความผิดปกติของการถและทำของทารก
- ตรวจน้ำคร่ำเพื่อตรวจการติดเชื้อและประเมินความสมบูรณ์ปอดของทารก
แพทย์จะไม่ให้ยาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในกรณี
- มีเลือดออกมากทางช่องคลอด
- มีความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
- มีการติดเชื้อในมดลูก
- เด็กมีความผิดปกติหรือตายแล้ว
- สภาวะอื่นๆ ที่การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้