เวียนศีรษะเสียการทรงตัว
Comment 0
“เวียนศีรษะ คลื่นไส้ บ้านหมุน บ่อยครั้ง อาการที่ไม่ควรมองข้าม”

การรักษาด้วยกายบริหาร

            การรักษาอาการเวียนศีรษะกระทำได้ 3 วิธี คือ การใช้ยา การผ่าตัด และกายบริหาร นิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น เวลาหันศีรษะไวๆ นอกจากนี้ยังใช้กับอาการเวียนศีรษะที่เป็นนานเกิน 1-2 เดือน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม

การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนทำกายบริหาร

- ควรมีผู้เฝ้า หรือผู้ช่วยขณะบริหาร
- บริเวณที่ออกกายบริหาร ควรปราศจากวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- อย่าดัดแปลงท่าออกกำลังกายบริหารเอง อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล
- ทำกายบริหารครั้งละ 15-30 นาที วันละกี่ครั้งก็ได้ (อย่างน้อย 2 ครั้ง)
- ต้องอดทนจึงจะเห็นผล หลังสัปดาห์ที่ 1-2 ขึ้นไป

การบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ (นั่งทำ)

- มองขึ้น-ลง ซ้ำ 20 ครั้ง พักแล้วมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา 20 ครั้ง ช้าๆ แล้วเร็วขึ้น เมื่อคล่องแล้วมองไปด้วยเคลื่อนไหวศีรษะไปด้วย เช่น มองขวาก็หันขวา มองบนก็เงยศีรษะ มองล่างก็ก้มศีรษะมองที่ปลายนิ้วชี้ตัวเอง แล้วขยับมือเข้ามาใกล้ตัว 1 ฟุต แล้วถอยกลับที่เดิม ทำ 20 ครั้งหลับตา ก้มศีรษะมากๆ เหมือนคำนับ เงยตรง แล้วหงายศีรษะไปข้างหลัง ทำ 20 ครั้งหันศีรษะไปซ้าย ตรง ขวา 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ

- เอียงหูขวาชิดไหล่ขวา ตรง เอียงหูซ้ายชิดไหล่ซ้าย ตรง ทำ 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ
กายบริหารเพื่อกระตุ้นการทรงตัวทั้งระบบ (5-10 นาที)

- ยืนที่มุมห้อง ผู้ช่วยอยู่ด้านหลัง เท้าชิดกัน หมุนศีรษะไปมองภาพ 15-20 ครั้งหมุนทั้งตัวไปมา ข้อเท้ายังชิดกันเหมือนเดิม 15-20 ครั้งยืนเท้าชิดกัน หันเข้าหามุมห้อง มือยันข้างฝา (ถ้าจำเป็น) ให้ผู้ช่วยผลักสะโพกเบาๆ ทีละข้าง ผลักเช่าเบาๆ ทีละข้าง พยายามปรับสมดุลด้วยตัวเองยืนในท่าเดิม 
- ยกเข้าขึ้นทีละข้าง พยายามยืนขาเดียว 5-10 วินาที ทำสลับขา

การบริหารในท่าที่เวียน (ประมาณ 10 นาที)

- ถ้าผู้ป่วยเวียนเวลานอนตะแคง ให้นั่งบนเตียง โดยโยกตัวให้หูซ้ายตะแคงนั่งตรง หูขวาตะแคง
- ถ้าเวียนเวลานอนหงาย หรือเงยศีรษะ ให้นั่งบนเก้าอี้ ตัวตรง ก้ม พยายามให้จมูกแตะเข่าซ้าย ค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมๆ กับเอียงหูขวา แตะไหล่ขวา ทำสลับข้าง พยายามค้างในแต่ละท่า 10-2 วินาที แม้จะมีอาการเวียน เพื่อเอาชนะอาการ ทำประมาณ 5-10 นาที

การบริหารร่างกายทั่วไป

เป็นการบริหารที่ไม่เป็นระบบ แต่ผู้ป่วยจะมีความสุขกับวิธีนี้มากกว่า โดยให้เลือกทำอะไรก็ได้ดังต่อไปนี้ วันละ 20 นาที หรือมากกว่าเท่าที่ต้องการ

-ไปนั่งชมกีฬาในสถานที่จริงๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล ฯลฯเดินเล่นชมนกชมไม้ มองพื้น มองฟ้า ก้มหยิบของ (ต้องมีผู้ช่วย) หัดเดินบนฟูก
- เล่นกีฬาเบาๆ ที่ชอบ เช่น ปิงปอง เลี้ยงลูกบาส พัตต์กอล์ฟ เป็นต้น (ห้ามว่ายน้ำ)

      หน่วยหูและโสตประสาท ช่วยอะไรท่านได้บ้าง

      - ปัญหาเวียนศีรษะ หรืออาการทรงตัวผิดปกติ
      - ปัญหาการได้ยินผิดปกติ หรือเสียงใบหู
      - ปัญหาเด็กไม่พูด พูดช้า พูดผิดปกติ
      - ปัญหาใบหน้าเป็นอัมพาต
      - ปัญหาหูน้ำหนวก และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหู

        Leave a Reply

        Your email address will not be published. Required fields are marked *