Q : วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ใช้ในกรณีใดบ้าง A : วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ใช้ใน 2 กรณี 1. ฉีดเพื่อป้องกันล่วงหน้า (ก่อนสัตว์กัด) 2. ฉีดเพื่อป้องกันหลังสัมผัสหรือเรียกว่าเป็นการรักษา
Q : ชนิดวัคซีนที่ใช่ในการฟ้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้า กับแบบหลังสัมผัสโรคต่างกันหรือไม่ A : ไม่แตกต่างกัน เป็นวัคซีนชนิดเดียวกัน
Q : วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้า(ก่อนโดนสัตว์กัด) สามารถป้องกันโรคได้ตลอดไปหรือไม่ A : ไม่สามารถป้องกันได้ตลอด กรณีที่ได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้าครบ แล้วโดนสัตว์กัดต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้ง โดยพิจารณาตามระยะห่างของการได้รับวัคซีน และเวลาโดนสัตว์กัด แต่มีข้อดีคือถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้าถ้าโดนกัดจะไม่ต้องฉีดเซรั่มซึ่งมีราคาแพงและมีโอกาสแพ้ได้สูง
Q : วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้าและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัส มีวิธีการฉีดแตกต่างกันอย่างไร A : การฉีดแบบล่วงหน้า ต้องฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ฉีดในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคฉีด ทั้งหมด 5 เข็ม ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 30 ผู้ป่วยต้องได้รับวัคซีนตามกำหนดอย่างเคร่งครัด ห้ามผิดนัด
Q : เมื่อถูกสัตว์กัด ต้องฉีด อิมมูโนโกลบูลิน ทุกครั้งหรือไม่ A : แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามลักษณะของบาดแผลตำแหน่งของแผล และประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของสัตว์ที่มากัด
Q : กรณีถูกสัตว์กัด อยากฉีดวัคซีนป้องกันรึพิษสุนัขบ้า สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ A : ผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัด แล:มีสิทธิ์ประกันสังคม ต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน หรืออิมมูโนโกลบูลิน สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Q : กรณีที่มีความประสงค์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าแบบล่วงหน้า สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ A : ไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันลังคมได้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
Q : สัตว์ชนิดใดที่สามารถนำโรคพิษสุนัขบ้าได้ A : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ได้แก่ สุนัข แมว วัว ม้า หนู ค้างคาว กระรอก กระต่าย ควาย เป็นต้น