ติดสุรา
Comment 0

ติดสุรา

  • องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของโรคติดสุราไว้ว่า หมายถึง ภาวะที่ผู้ดื่มสุรา รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลักอื่นๆ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ ฯลฯ ดื่มเป็นประจำ โดยจะต้องมีลักษณะอาการต่างๆต่อไปนี้ตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปคือ

อาการทางคลินิกอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา

  • ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือนหรือแรมปีรวมทั้งผู้ที่ดื่มเป็นครั้งคราวแต่ดื่มครั้งละมากๆ เช่น ดื่มวันสุดท้ายของสัปดาห์ งานฉลองต่างๆ จะมีอาการผิดปกติได้หลายระดับความรุนแรง ในที่นี้จะขอกล่าวอาการทางคลินิกที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัด มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายได้

ภาวะจากพิษแอลกอฮอล์

  • เกิดจากการดื่มสุราคราวละมากๆ จนแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึงระดับที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการเคลื่อนไหวระดับรู้สึกตัว การควบคุมความคิด อารมณ์และพฤติกรรมโดยที่อาการจะเริ่มจากน้อยไปหามาก ดังนี้
  • ในกรณีหมดสติโดยไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เมื่อตื่นขึ้นมาจะจำเหตุการณ์ในขณะเมาไม่ได้

 

ภาวะเพ้อคลั่งและประสาทหลอน

  • พบในผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณมากติดต่อกันมาเป็นเวลานานมากเป็นปีๆ เมื่อหยุดดื่มทันทีที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากหยุดดื่มประมาณ 2-4 วัน
  • หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้น ชัก เกร็ง หมดสติ หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด ภาวะเช่นนี้ผู้ป่วยต้องอยูรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับสารอาหาร น้ำ วิตามิน ยารักษาอาการทางจิต ยารักษา อาการชักเกร็ง ยาลดไข้ และอื่นๆ ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 10-14 วัน ถึงจะพ้นขีดอันตราย ส่วนอาการประสาทหลอนและอาการทางจิตอื่นๆ อาจใช้เวลานานกว่านี้
  •  
  • กลุ่มอาการทางจิตอื่นๆ

    เป็นกลุ่มอาการทางจิตที่เกิดขึ้นในขณะดื่มภายใน 2 วัน อาการที่พบบ่อยคือ หวาดระแวงว่ามีคนปองร้าย ระแวงว่าคู่ครองนอกใจ ทำให้มีอาการหึงหวงรุนแรง หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดจาข่มขู่ หรือเยาะเย้ยถากถางทำให้ตื่นกลัวหรือโกรธ ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคจิตประเภทชนิดหวาดระแวง  บางรายอาจมีอารมณ์ครึกครื้นสนุกสนานอย่างมาก หรืออาจสับสัน ซึมลง ไม่ยอมพูดยอมจา บางรายอาจมีอาการหลายอย่างร่วมกัน อาการต่างๆ จะทุเลาลงในเวลา 1 เดือน แต่อาจหลงเหลืออยู่บ้างจนถึง 6 เดือน ผู้ป่วยบางรายอาจมีการทางจิตหลังจากหยุดดื่มมาแล้ว 2 สัปดาห์ กรณีเช่นนี้ ผู้ป่วยมักอาการผิดปกติด้านความจำ อารมณ์ พฤติกรรมและบุคลิกที่ต่างไปจากเดิม

  • กลุ่มอาการหลงลืม

  • ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน ส่วนความจำในอดีตยังคงปกติดีหรือสูญเสียบ้างเล็กน้อย ผู้ป่วยไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังได้ บางรายพยายามพูดกุเรื่องขึ้นมาให้สมจริง ผู้ป่วยไม่สามารเรียนรู้จดจำสิ่งใหม่ๆ ได้ บางรายบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งมักเป็นแบบเงียบขรึมลง ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่สนใจดูแลตัวเอง

การรักษา

  • แบ่งการรักษาออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
  • ขั้นแรก เป็นการรักษาอาการแทรกซ้อน ที่เกิดต่อร่างกาย รวมทั้งอาการทางจิตประสาทที่รุนแรงประกอบด้วยการให้สารอาหาร, วิตามิน, ยาบำบัดอาการทางจิตประมาทและยาบำบัดตามอาการอื่นๆ ดังได้กล่าวแล้วตามข้างต้น ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติตลอดจนสุขภาพร่างกายดั้งเดิมของผู้ป่วยรวมทั้งโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน, โรคตับ, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ เป็นต้น โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 2-4 สัปดาห์ อาการบางอย่างอาจอยู่นานแรมเดือน แต่ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวต่อที่บ้านได้
  •  
  • ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ ในที่นี้ หมายถึง การฟื้นฟูด้านกระบวนการความคิด การแก้ปัญหาในชีวิต การรับมือกับความกดดันต่างๆ โดยมีกระบวนการบำบัดรักษาหลักๆ 4 ประการดังนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *