โรคปีกมดลูกอักเสบหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ

ปีกมดลูกอักเสบหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ (Salpingitis) หมายถึง การอักเสบของท่อรังไข่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (15-45 ปี) เกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรียที่ผ่านช่องคลอดเข้าไปทางปากมดลูก เข้าไปในโพรงมดลูกทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกอักสบและลุกลามต่อไปในท่อรังไข่ กลายเป็นปีกมดลูกอักสน เกิดการอักเสบติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องและเชิงกรานตามมา จึงมักจะเรียกรวมๆ กันว่าอุ้งเชิงกรานอักเสบ Pelvic Inflammatory Disease / PID ซึ่งครอบคลุมถึงการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องภายในอุ้งเชิงกราน ถ้าอาการเป็นมากและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดถุงหนองที่ปีกมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดท้องน้อยเรื้อรังและมีบุตรยากตามมา

ผู้ที่มีความเสี่ยงชองโรค

  • อายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อ
  • มีคู่ครองหลายคน หรือ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่ครองหลายคน
  • จากการใส่ห่วงฉุกเฉิน
  • การสวนล้างช่องคลอด

อาการของผู้ป่วยมีอะไรบ้าง

  • ปวดท้องน้อย
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • ตกขาวมากขึ้น
  • ปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไข้สูงหนาวสั้น

การวินิจฉัย

  • การวินิจฉัยทำได้ยากเนื่องจากบางคนไม่มีอาการแสดงหรือมีแต่น้อย นอกจากนั้นการตรวจร่างการอาจจะไม่พบความผิดปกติ
  • ยังไม่มีการตรวจพิเศษที่ชี้เฉพาะว่าเป็นโรคนี้
  • การตรวจอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้น
  • การตรวจที่สำคัญคือการตรวจภายในพบว่าเมื่อโยกปากมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวด หรือเมื่อแตะบริเวณชิงกรานจะทำให้ปวด
  • อาจจะนำสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อหนองใน หรือหนองในเทียม
  • เจาะเลือดตรวจเพื่อแสดงว่าเป็นโรคติดเชื้อ
  • ตรวจอัลตราซาวด์ท้องน้อยเพื่อตรวจว่าท่อรังไข่บวมหรือไม่ มีหนองที่ท้องน้อยหรือไม่
  • การส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) เพื่อให้เห็นบริเวณทีติดเชื้อ

การรักษา

  1. เนื่องจากการตรวจหาชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นไปได้ยาก จึงต้องให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุอย่างน้อยสองชนิด
  2. แม้ว่าอาการจะดีขึ้นหลังจากได้ยา ต้องรับประทานยาให้ครบ
  3. สำหรับคู่ครองต้องได้รับการรักษาร่วมด้วยแม้จะไม่มีอาการในคู่ครอง เนื่องจากมักพบว่า มีพาหะของเชื้อก่อโรค

โรคแทรกซ้อน

ผู้ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการและเหมาะสม จะลดโรคแทรกซ้อนของโรคลงได้ภาวะแทรกซ้อนของโรคมักเกิดจากเกิดเป็นซ้ำของโรคบ่อยครั้ง ทำให้เยื่อบุในท่อนำไข่เสียหาย ท่อนำไข่บวม เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและมีบุตรยากตามมา

การป้องกันโรคนี้ต้องทำอย่างไร

  • รับการรักษาและตรวจ ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่งทั้งผู้ป่วยและคู่ครอง
  • สวมถุงยางอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีคามเสี่ยง
  • งดสวนล้างช่องคลอด
  • ในผู้ป่วยที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด ถ้ามีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบต้องถอดห่วงออก
  • สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ มีแผล ตกขาว ปวดท้องน้อยควรไปพบแพทย์ตรวจ