7 เคล็ดลับการให้ยาเด็ก

เมื่อลูกรักไม่สบาย

            คุณพ่อ คุณแม่ย่อมมีความกังวลใจ แต่หากมีความรู้เรื่องเบื้อต้นเกี่ยวกับยาที่สามารถบรรเทาอาการป่วยไข้ก่อนไปพบแพทย์อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม้คลายกังวลใจลงได้ ฉะนั้นมาเรียนรู้ 7 เคล็ดลับการให้ยาเด็ก ให้ปลอดภัยกันไว้ดีกว่า

  1. มีไข้แบบไหน เลือกใช้ยาเองหรือไปพบแพทย์

          หากลูกตัวร้อนมีไข้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้มือแตะหน้าผากหรือเนื้อตัวแล้วสรุปว่าลูกตัวร้อน แต่ควรวัดอุณหภูมิร่างกายโดยไข้ปรอทวัดไข้เพื่อจะได้กราบคำอุณหภูมิที่แน่นอน โดยการนำปรอทวัดไข้มาสลัดให้ปรอทลงไปที่กระเปาะแล้วสอดไว้ที่รักแร้ของลูกทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที จึงนำอกมาอ่านคำ หากอ่านค่าอุณหภูมิได้มากกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศา ควรเริ่มให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น โดยเช็ดย้อนรุขุมขน และเข็ดเน้นบริเวณข้อพับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนและขา ควรเข็ดตัวไปเรื่อยๆ จนกว่าไข้จะลด หากไข้ไม่ลดหลังจากการให้ยาครั้งแรกนาน 4 ชั่วโมง สามารถให้ยาลดไข้ซ้ำได้ และให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่หากมีไข้เกิน 3 วัน หรือมิไข้สูงมาก เช่น เกิน 40 องศาขึ้นไป หรือไข้สูงลองให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วนอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เก็ดอาการซักได้

  • หากลูกอาเจียนควรให้ยาซ้ำหรือไม่

เภสัชกรมักได้รับคำถามนี้อยู่บ่อยๆ เพราะในขณะป้อนยา หากเด็กกำลังร้องให้อาจทำให้เกิดการสำลักหรืออาเจียนออกมาได้ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกิดความสงสัยว่า จะต้องป้อนยาลูกซ้ำหรือไม่ เพราะหากป้อนซ้ำก็กลัวลูกจะได้รับยามากเกินไปหากไม่ป้อนลูกก็อาจจะได้รับยาไม่ครบ จึงอยากแนะนำให้งดหลักการง่ายๆ คือ หากป้อนยาแล้วลูกอาเจียนทันที ก็ให้ยาไข้ได้แต่หากให้ยาแล้วลูกไม่อาเจียนทันที ก็ให้ข้ามยามื้อนั้นไปเลย ไม่ต้องป้อนไข้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับยาเกินขนาด

  • อย่าผสมยาลงในขวดนม

เนื่องจากเด็กเล็กกินนมเป็นอาหารหลัก ประกอบกับพฤติกรรมการกินยายาก การผสมยาลงในขวดนมจึงเป็นเทคนิคการป้อนยาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆที่เป็นวิริการที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากแคลเซียมในนมอาจจับกับยาบางชนิดทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์อีกปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ หากเด็กกินนมไม่หมดในครั้งเดียวก็จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ครบตามขนาดที่ควรได้รับ ยิ่งไปกว่านั้นหากยาทำให้นมมีรสชาติเปลี่ยนไป เด็กก็อาจจะไม่ยอมกินนม กลายเป็นปัญหาสองต่อ ดังนั้นอย่าผสมยาในนมเด็ดขาด หากต้องการผสมให้ใช้น้ำหวานหรือน้ำผึ้งแทน

  • ให้ป้อนยาทีละขนาน

ในกรณีที่เด็กได้รับยาหลายขนาน คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจผสมยาทุกชนิดรวมกัน แล้วป้อนเด็กในครั้งเดียวเพื่อความสะดวก ทั้งๆที่อาจจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกิน ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้คุณสมบัติทางภายภาพของยาเปลี่ยนไป หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายหรือมีฤทธิ์ลดลง ซึ่งจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้อนยาให้ลูกที่ละชนิดจะปลอดภัยกว่า

  • อุปกรณ์ป้อนยาเด็ก

หากเด็กเล็กกว่า 1 ขวบ หรือในเด็กที่กินยายาก การใช้หลอดดูดยา (syringe) แทนซ้อนจะทำให้การป้อนยาทำได้สะดวกขึ้นโดยที่หลอดดูดยาจะมีตัวเลขบอกปริมาตรเป็นยียีแสดงอยู่ ซึ่งหากว่าเด็กต้องกันยา 1 ช้อนชา ก็จะเท่ากับ 5 ยีซี และขอย้ำว่า”ซ้อนชา” ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนที่ใช้ในการชงชาตามบ้าน แต่เป็นซ้อนที่แถมมาพร้อมกับขวดยา สำหรับในเด็กโตอาจต้องใช้ “ซ้อนโต๊ะซึ่งก็ไม่ใช่ช้อนที่ใช้บนโต๊ะอาหารตามบ้านเช่นกัน แต่ 1 ข้อนโต๊ะ จะเท่ากับ 3 ช้อนชา ดังนั้นหากบนฉลากเขียนไว้ว่า ป้อนยาครั้งละ1 ข้อนโต๊ะ ก็ควรใช้ช้อนโต๊ะที่แถมมาพร้อมกับขวดยาเท่านั้น หรือใช้ข้อนขาป้อน 3 ซ้อนก็ได้

  • เทคนิคการป้อนยาเด็ก

ปัญหาการกินยายากเป็นเรื่องปกติของเด็กทุกคน บางครอบครัวจึงใช้วิธีการบีบจมูกเพื่อให้เด็กกลืนยายิ่งอาจจะทำให้ลูกกลืนยาได้ง่ายขึ้น แต่เป็นการกระทำที่อันตรายมากเพราะเสี่ยงต่อการที่เด็กจะสำลัก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรใช้วิรีดังกล่าวและหันมาใช้วิรี่ที่ถูกต้องแทน คือ การใช้หลอดดูดยาค่อยๆฉีดยา เข้าข้างกระพุงแก้มเด็กแต่ถ้าเด็กปฏิเสธและต่อต้านมาก อาจขอให้สมาชิกคนอื่นในบ้านช่วยกันจับมือและเท้าของเด็กไว้ไม่ให้ดิ้นแต่ห้ามทำให้เจ็บโดยการบีบปากหรือบีบจมูกเด็ดขาดและห้ามขู่ตะคอก ให้ค่อย ๆ บอกดี ๆอย่างอ่อนโยน ก่อนป้อนยา ค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพังแก้มก็จะสามารถป้อนยาได้สำเร็จและหากระหว่างการป้อนยามียาหก (ซึ่งอาจจะทำให้เด็กได้ยาไม่ครบ) ก็ไม่ต้องให้ยาไข้เนื่องจากเราไม่ทราบว่ายาที่หกไปมีปริมาณเท่าใดกันแน่

  • วิริเก็บรักษายาที่ถูกต้อง

การเก็บรักษาที่ถูกวิธี คือ ควรเก็บยาไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน และตรวจสอบอายุยาทุกครั้งก่อนหยิบใช้ โดยเราจะเก็บยาที่หมดอายุก่อนไว้ด้านหน้าและหยิบใช้ก่อน ส่วนยาที่หมดอายุที่หลังจะเก็บไว้ด้านใน และควรตรวจสอบอายุยาอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้

มียาหมดอายุค้างอยู่ในตู้ยา หากไม่มีตู้ยา ควรเก็บในที่ที่พันมือเด็ก ห่างไกลแสงแดด และความชิ้น ส่วนการที่หลายๆบ้านมักเก็บยาที่เปิดใช้แล้วไว้ในตู้เย็นนั้น ต้องบอกว่าอาจจะเหมาะกับยาบางชนิดเท่านั้น เช่น ยาปฏิชีวนะที่ผสมน้ำแล้ว ซึ่งจะใช้ได้ไม่เกิน 7 วันแต่ยาบางชนิด เช่น ยาน้ำเชื่อมอาจจะไม่เหมาะที่จะเก็บในตู้เย็น เพราะจะเกิดการตกตะกอน และทำให้ยาเปลี่ยนสภาพได้ ดังนั้นขอให้ดูฉลาก รวมถึงมีข้อควรระวังในกรณีที่เก็บยาไว้ในตู้เย็น คือ ต้องไม่วางยารวมไว้กับขวดน้ำดื่ม เพราะเด็กอาจหยิบยาไปกินด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ได้