โภชนาการ เพื่อ…ครรภ์คุณภาพ การรับประทานอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของร่างกายและทารก ควรให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ไม่ใช่ปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ร่างกายต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นวันละ 25 กรัม โดยเพิ่มนม 2 ถ้วยตวง เนื้อสัตว์ 90 กรัม โปรตีนที่ต้องการเพิ่มขึ้นนี้เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อของแม่และการเจริญเติบโตของทารกขณะอยู่ในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ ควรได้พลังงานเพิ่มจากปกติอีกวันละประมาณ 300 กิโลแคลอรี่อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ปลาทะเลต่างๆ ถั่วต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีสต์ โยเกิร์ต ทั้งนี้ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันคาร์โบไฮเดรตและแป้ง ควรเลือกทานอาหารคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เมล็ดธัญพืชไขมันและขนมหวาน หญิงตั้งครรภ์ ควรทานอาหารประเภทนี้แต่น้อย ควรเลือกทานไขมันจากน้ำมันพืชมากกว่าไขมันอิ่มตัว ที่มีอยู่ในอาหารประเภททอดๆผักและผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่ดี อีกทั้งยังมีใยอาหารซึ่งช่วยในการขับถ่าย ในผักจะมีวิตามิน A, C โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ส่วนผลไม้จะมีวิตามิน A, C และโพแทสเซียมอยู่ในปริมาณมากวิตามิน A พบในผักชีฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักโขม ผักกาดหอม แครอท มะเขือเทศวิตามิน B พบในเมล็ดข้าวสาลี ผักเปลืองแข็งวิตามิน C พบในมะเขือเทศ ผักชีฝรั่ง กะหล่ำปลี ส้ม ส้มโอ มะนาว ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ กีวีและสละวิตามิน D พบในน้ำมันปลาค๊อก เมล็ดข้าวสาลีวิตามิน E พบในผักกาดหอม ถั่ว อัลมอนด์ วอเตอร์เกรสวิตามิน K พบในผักสีเขียว กะหล่ำขาว ผักโขม** หลีกเลี่ยง น้ำผลไม้ 100% และน้ำผลไม้ผสมต่างๆ เลือกทานผลไม้สดเพื่อการได้รับวิตามินและใยอาหารวิตามินและเกลือแร่ธาตุเหล็ก หญิงตั้งครรภ์ต้องการใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ ไข่แดง ตับ ม้าม ไต เลือด เนื้อแดง ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ และซีเรียล เพื่อช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายทารกกำลังสร้างเม็ดเลือดแดง ทุกๆวัน และเป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโฟเลต เป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกจนถึง 3 เดือนแรก มารดาที่ขาดโฟเลตอาจจะทำให้ทารกมีความผิดปกติของกระดูกสันหลังได้ ควรรับประทานอาหารที่มีผักใบเขียว ถั่วต่างๆผลไม้พวกส้ม และตับแคลเซียม ความต้องการของแคลเซียม ประมาณวันละ 1,200 มิลลิกรัม ทารกจะดึงเอาแคลเซียมจากแม่มาใช้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างกระดูกและฟัน อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ ผักใบเขียว ปลาที่ทานได้ทั้งตัว งาขาว งาดำ คะน้า ใบยอ ควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้วน้ำ ควรดื่มน้ำ 6-8 แก้ว/วัน หรือ 1.5 ลิตร/วัน เป็นน้ำสะอาดไม่ควรเป็นน้ำเกลือแร่** สามารถดื่มเครื่องดื่ม โกโก้ ช็อคโกแลต ได้บ้าง เทคนิคการลดอาการคลื่นไส้ ของคุณแม่มือใหม่ทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ลูกหยี มะขาม บ๊วยและหลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด ไขมันสูงรับประทานแต่น้อย ทานบ่อยๆเพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารว่างไม่ต้องกังวลกับการอยากทานอาหารแปลกๆ ขอให้รับประทานในสิ่งที่ร่างกายเรียกร้อง เพราะคุณจะมีความต้องการเพียงช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นอาจมีขนมปังกรอบไว้ข้างๆเตียง เพื่อลดอาการคลื่นไส้ในตอนเช้า ก่อนลุกจากเตียงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุนและน้ำหอม คุณแม่ควรระวังเรื่องน้ำหนักเกิน ควรควบคุมน้ำหนักอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ตลอดอายุการตั้งครรภ์น้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้น 8-12 กิโลกรัม Share Previous ความรู้ทางการแพทย์ การคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ Next ความรู้ทางการแพทย์ โรคเบาหวานเป็นอย่างไร
คำแนะนำการปฏิบัติตัว และการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก โดยการส่องกล้อง 10 Jun 2024