ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ที่มีต่อลูก1. เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก2. ป้องกันการติดเชื้อ เด็กทารกที่ได้รับนมแม่จะไม่ป่วยบ่อย เนื่องจากมีสารภูมิคุ้มกันจากแม่ ช่วยป้องกันโรคท้องเสีย ปอดอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบเป็นต้น3. ลดภูมิแพ้ โปรตีนในนมแม่จะจำเพาะกับเด็กทารกลดการเกิดภาวะแพ้นมวัว และแพ้อาหารได้4. ช่วยให้ฉลาด เพราะในนมแม่มี DHA กรดอะมิโน ทอรีน เป็นต้น5. มีสารอาหารอื่นๆ ที่ไม่มีในนมผสมมากกว่า 100 ชนิด1. ป้องกันการตกเลือด ขณะที่ลูกดูดนมจะมีการหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ทำให้มดลูกมีการหดตัว ช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอด2. เสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูก3. ลดการเกิดมะเร็งเต้านม4. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย5. ช่วยคุมกำเนิดได้บ้าง โดยต้องให้ลูกดูดนมอย่างสม่ำเสมอ อุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1. หัวนมสั้น หัวนมบอด หัวนมบุ๋ม/แบน2. หัวนมแตก เป็นฝีหรืออักเสบ3. มีพังผืดยึดใต้ลิ้นทารก4. ลูกไม่ยอมดูด หรือหลับขณะดูดนม5. ลูกป่วย6. น้ำนมแม่ไม่พอ เคล็ดลับการดูดนมแม่ให้สำเร็จ1. มีการเตรียมเต้านมขณะตั้งครรภ์2. แม่ผ่อนคลาย ไม่เครียด และบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะ คุณพ่อคอยให้กำลังใจ3. ดูดนมให้ถูกวิธี ดูดบ่อย และสม่ำเสมอ ไม่ดูดหัวนมปลอม4. อุ้มลูกถูกวิธีจะทำให้ลูกสามารถอมหัวนมได้อย่างถูกต้อง เวลาที่เหมาะสำหรับการเริ่มให้นมบุตร– ทารกคลอดครบกำหนด หากไม่มีปัญหาภาวะขาดออกซิเจน สามารถให้ดูดนมแม่ได้ภายใน 1/2 – 6 ชั่วโมงหลังคลอด– ในช่วง 2 – 3 วันแรกของการให้นม ให้ทารกดูดตามที่ทารกต้องการหรือทุก 1 – 2ชั่วโมง และเมื่อนมแม่ไหลดีให้ทุก 2 – 3 ชั่วโมง (8 – 12 ครั้งต่อวัน) อาการแสดงที่บอกว่าลูกได้รับนมพอ1. ทารกสงบลงหลังดูดนม2. นอนหลับ 2 – 3 ชั่วโมง3. ปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง/วัน, อุจจาระ 4-6 ครั้ง/วัน4. เต้าที่ไม่ได้ดูดมีนมหยด ได้ยินเสียงกลืนนม และเต้านมนุ่มลงจากเดิมที่เต้าคัดตึง ปัจจัยที่ทำให้ลูกดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพ1. สภาพร่างกายแม่และลูกปกติ2. แม่อุ้มด้วยความมั่นใจ ท่าผ่อนคลาย ไม่ทำให้ปวดเมื่อย3. จับเต้านมใส่ปากลูกอย่างถูกวิธี4. ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานนม ริมฝีปากทั้งสองบานออก คางและแก้มชิดเต้านม ท้องลูกชิดกับท้องแม่5. เวลาที่ลูกดูดจะไม่รู้สึกเจ็บหัวนม ดูดกลืนเป็นจังหวะได้ยินเสียงกลืน6. เฉลี่ยเด็กจะดูดประมาณ 10 – 30 นาที การบีบเก็บน้ำนม1. บรรเทาอาการตึงเต้านม2. ประเมินปริมาณน้ำนม3. กระตุ้นและคงไว้ในกรณีที่ลูกดูดนมจากเต้านมแม่เองไม่ได้ เช่น ลูกป่วย แม่ทำงานนอกบ้าน4. เก็บสะสมเป็นคลังนมให้ลูก การเก็บรักษาน้ำนม1. เก็บน้ำนมใส่ถุงในปริมาณที่ลูกกินหมดพอดีในแต่ละมื้อ2. เก็บน้ำนมใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด เขียนวันที่และเวลาที่จัดเก็บเรียงลำดับก่อนหลัง3. สามารถเก็บใส่ตู้เย็นใต้ช่องแข็ง (4 °C) ได้นาน 2 วันเก็บช่องแช่แข็ง ตู้เย็น 1 ประตูจะเก็บได้นาน 2 สัปดาห์ ถ้าตู้เย็น 2 ประตู (-14 °C) เก็บได้นานประมาณ 3 เดือน4. การนำน้ำนมที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำมาวางใช่ช่องธรรมดาจนละลาย สามารถให้ลูกกินนมเย็นได้หรือแช่น้ำร้อนให้อุ่นขึ้นก็ได้ ห้ามอุ่นด้วยไมโครเวฟ5. ห้ามนำน้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วไปแช่ใหม่ และควรใช้ภายใน 2 – 4 ชั่วโมง Share Previous ความรู้ทางการแพทย์ โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก Next ความรู้ทางการแพทย์ การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์
คำแนะนำการปฏิบัติตัว และการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก โดยการส่องกล้อง 10 មិថុនា 2024