PTCA การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูน
ปัจจุบันโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease, CAD) เป็นโรคหัวใจที่ที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังและในบางรายก็อาจมีอาการเฉียบพลันเกิดหัวใจวาได้
ซึ่งวิธีการรักษาโรคนี้ปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธี คือ
- การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขาหรือหลอดเลือดแดงบางที่มาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุกตันทำทางเดินของหลอดเลือดใหม่ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Coronary Artery Bypass Graft (CABG) การใช้ยารักษาและการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจด้วย
- ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ.1977 นาบแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Andreas Gruentzig ได้ทำการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดเป็นผลสำเร็จและตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการรักษาและพัฒนาวิธีการรักษาแบบใหม่นี้ ทำได้ผลการศึกษาที่ดีและยอมรับกันทั่วไป เรียกวิธีการรักษาแบบนี้ว่า PTCA (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty)
- Percutaneous หมายถึง การรักษาโดยการเจาะรูผ่านผิวหนังบริเวณขาหนีบเพื่อใส่สายสวนหัวใจเข้าไป
- Transluminal หมายถึง การรักษานี้กระทำภายในหลอดเลือด (หรือท่อ)
- Coronary หมายถึง หลอดเลือด coronary ที่ไปเลี้ยงหัวใจ
- Angioplasty หมายถึง การรักษาโดยใช้สายสวนหัวใจที่มี balloon หรือลูกโป่งเล็กๆ อยู่บริเวณปลายสายสวน ซึ่งบอลลูนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ตีบอยู่ หลักจากนั้นแพทย์จะดันให้ลูกโป่งพองออกตรงตำแหน่งที่ตีบนั้นให้ขยายออกทำให้เลือดสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
- ข้อดีของการทำการขยายหลอดเลือดหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณ ข้อมือ (radial artery) ข้อดีของวินี้คือ คนไข้สามารถลุกนั่งหรือเดินทันทีหลังจากที่สวนหัวใจเสร็จ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการขยายหลอดเลือดหัวใจอย่างมากแตกต่างจากวิธีการสวนหัวใจเข้าทางขาหนีบคนไข้จะต้องนอนราบไม่งอขาข้างที่ทำเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ทำไมต้องรักษาโรคหัวใจขาดเลือดด้วยวิธี PTCA ?
- การทำ PTCA ได้แพร่หลายนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทยก็ได้การรักษาโดยวิธี PTCA ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่งทั้งของรัฐบาลและเอกชน ระยะเวลาในการทำ PTCAเฉลี่ยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาฯ ½-1/1/2 ชม.ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการทำ PTCA คือ ทำให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บหน้าอกได้อย่างรวดเร็ว และระยะเวลาพักฟื้นภายในโรงพยาบาลก็จะสั้นมาก ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 สัปดาห์และกลับไปทำงานได้ตามปกติภายในประมาณ 3-4 สัปดาห์
พบปัญหาในการทำ PTCA หรือไม่ ?
- สำหรับปัญหาในการทำบอลลูนในช่วงแรกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 2 อย่าง คือ การเกิดการปิดของเส้นเลือดทันที (Abrupt Closure) หลังจากการทำ PTCA ซึ่งเกิดขึ้นได้ ประมาณ 0-5% และอาจจำเป็นต้องผ่าตัด CABG เป็นกรณีฉุกเฉินถ้าแก้ไขไม่ได้พบประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่มาทำ PTCA ไปแล้วในช่วง 6 เดือนแรก
มีวิธีการลดการตีบใหม่ของหลอดเลือดหรือไม่ ?
- ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขยายหลอดเลือดหัวใจมาใช้กันมากขึ้นเพื่อลดการตีบซ้ำ (Restenosis) เช่น การใช้การเครื่องมือตัดก้อนไขมัน หรือแคลเซียมในเส้นเลือด (Directional Coronary Arthrectomy, DCA) การใช้หัวกรอเพชร (Rotablator) การใช้ลวดเล็กๆไปถ่างเส้นเลือดด้วยการใช้บอลลูนร่วมกับเครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้ว่า Percutaneous Coronary Intervention (PCI) และพบว่าการใช้ขดลวดเล็กร่วมกับบอลลูนอาจลดการตีบซ้ำใหม่เหลือเพียง 10-20% และสามารถแก้ไขการยุบตัวของหลอดเลือดได้ โดยลดอัตราเสี่ยงที่จะต้องส่งไปผ่าตัดเหลือน้อยกว่า 0.5% ผลสำเร็จของการทำด้วยวิธี PCI อย่างไรก็ตาม การทำ PTCA ด้วยการใช้บอลลูนธรรมดาก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ โดยมีการใส่ขดลวดร่วมด้วยมากกว่า 80% และยังมีขดลวดแบบใหม่ที่สามารถลดการตีบใหม่ลงเหลือ <510% อีกด้วย ผลการรักษาวิธี PCI นี้ ปัจจุบันมีผลสำเร็จตั้งแต่ 85-99% แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยที่เราไม่สามารถใช้การรักษาแบบนี้ทดแทนการผ่าตัดได้ในบางกรณี ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้แนะนำการปฏิบัติตัวหรือจำกัดกิจกรรมบางอย่าง รวมทั้งเกี่ยวกับการรับประทานยาอาหารที่จำเป็น ดังนั้นการกลับมาพบแพทย์ตามนัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะอาจจะต้องมีการตรวจสอบอย่างอีกเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดเลือดของหัวใจยังมีการไหลเวียนโลหิตได้ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นสามารถมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ขดลวดถ่างเส้นเลือดแบบพิเศษ ดีกว่าขดลวดธรรมดาอย่างไร ?
- การใช้ขดลวดแบบพิเศษ จะสามารถป้องกันการตีบใหม่ของหลอดเลือดได้มาก ปกติถ้าใช้ขดลวดธรรมดาในการตีบใหม่อยู่ที่ประมาณ 20-30% แต่ถ้าเราใช้ขดลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นยาออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ลักษณะคล้ายกับยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง เพราะฉะนั้นถ้าขดลวดแบบมาตรฐานเกิดการตีบใหม่ประมาณ 20-30% แต่ถ้าขดลวดแบบพิเศษปรากฏว่าการตีบใหม่ลดลง 5-10% และพบว่าคนไข้จะไม่ค่อยมีปัญหาหลังจากทำไปแล้วและก็ลดการที่ต้องมาทำใหม่อีกในช่วง 3-6 เดือนแรกที่จะมีการตีบใหม่นั้นก็คือข้อดีของลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่