หูดไม่ใช่มะเร็งผิวหนังแต่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแพพิวโลมา ไวรัส (Human Papillorma Virus : HPV) โดยเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนัง ระยะเริ่มต้นแต่รับเชื้อ จนกระทั่งเป็นหูดใช้เวลาหลายเดือน ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีจะเป็นหูดได้ง่าย

ชนิดของหูด

หูดทั่วไป

มักเกิดขึ้นบนนิ้วมือหรือรอบๆบริเวณเล็บเนื่องจากมีแผลบ่อย อาจเกิดจากการฉีกหนังที่ขอบ เล็บ ทำให้ติดเชื้อหูด ได้ง่ายแต่หูดชนิดนี้เป็นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ลักษณะเป็นเม็ดนูนผิวขรุขระและมีจุดดำเล็กๆบนผิว

หูดที่ฝ่าเท้า

เกิดขึ้นบริเวณฝ่าเท้าที่รับน้ำหนักหูดชนิดนี้จะไม่นูนออกมาเหมือนกันหูดทั่วไปเพราะมีแรงกดทับจากการเดินจะผลักดันให้หูดเหล่านี้กลับเข้าไปในผิวของฝ่าเท้า อาจจะมีหลายเม็ดรวมกันเป็นกลุ่มเมื่อเป็นเม็ดใหญ่จะรู้สึกปวดเวลาเดิน เหมือนมีเศษหินตำอยู่ในเท้า

หูดชนิดแบน

หูดชนิดนี้ขนาดเล็กและมีผิวเรียบอาจมีมีหลายเม็ดกระจัดกระจาย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งของร่างกายแต่มักพบบนใบหน้า ในผู้ชายมักพบบริเวณหนวด เนื่องจากโกนหนวดทำให้ติดเชื้อง่ายและทำให้เพิ่มจำนวนขึ้นได้ ลักษณะเป็นเม็ดนูนผิวขรุขระและมีจุดดำเล็กๆบนผิว

การรักษา

  1. ถ้าเป็นจำนวนไม่มาก สามารถเอาออกโดยวิธีจี้ด้วยไฟฟ้าหรือเลเซอร์
  2. สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต ถ้าเป็นจำนวนมากอาจใช้การรักษาด้วยความเย็นโดยพ่นไนโตรเจนเหลว(Cryotherapy)การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลดีอย่างไรก็ตามอาจต้องรักษาซ้ำในช่วง 1 ถึง 3 สัปดาห์ติดต่อกันหลายครั้งจนกว่าจะหาย
  3. เด็กรักษาได้โดยการทายาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิค หรือยาทาที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคแต่ต้องใช้เวลานานหลายเดือนจึงจะหาย
  4. หูดที่ฝ่าเท้าจะรักษายาก เนื่องจากเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนัง การรักษาอาจใช้กรดซาลิไซลิคทาให้ค่อยๆ ลอกออกหรือการพ่นด้วยไนโตรเจนเหลว หรือจี้ด้วยเลเซอร์ หรือไฟฟ้า และอาจเปลี่ยนลักษณะรองเท้าเพื่อไม่ให้กดทับหูด แพทย์จะพิจารณาเลือดวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับหูดแต่ละชนิดแต่ละตำแหนงที่เป็น

การดูแลตนเอง

หูดจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกทั้งๆที่รอยเดิมเพิ่งจะหายไป เพราะหูดที่เพิ่งหายไปได้แพร่เชื้อไวรัสใต้ผิวหนังข้างเคียงก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา แต่ก็ยังไม่แสดงอาการ วิธีที่ดีที่สุดรักษาหูดตั้งแต่เริ่มเป็นเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะแพร่เชื้อไวรสกระจายไปใต้ผิวหนัง การติดเชื้อโดยเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนัง ไม่ใช่มะเร็งผิวหนัง