เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีฮอร์โมนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เบาหวานเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวของโรค
ซึ่งกระทำได้โดย
- การควบคุมอาหาร
- การออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก
- การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยารับประทานลดน้ำตาลและยาฉีกอินซูลิน
ปัญหาสำคัญที่สุดลองการรักษาเบาหวาน
คือ การควบคุมอาหาร และน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การควบคุมอาหาร เป็นวิธีการรักษาโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า การรักษาด้วยอาหาร ซึ่งมีความสำคัญที่สุด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นโรคเบาหวานประเภทไหน และการรักษาด้วยยาชนิดใด ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องได้รับอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เหมือนคนปกติเช่นกัน เพียงแต่เลือกอาหารในปริมาณ และชนิดของอาหารให้เหมาะสม
ผู้ป่วยเบาหวาน ควรปฏิบัติตนในการเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา โดยแบ่งเป็น 3 หรือ 4 มื้อ แล้วแต่ประเภทของการรักษา และในปริมาณที่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกระหว่างมื้อ และก่อนนอน
- จำกัดปริมาณ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง
- เครื่องดื่ม เลือกดื่มเครื่องดื่มที่ปริมาณน้ำตาลน้อย
- เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา และโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง เป็นต้น
- เลือกดื่มนมหรือผลินภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย
- ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารแทนไขมันจากสัตว์ เลือกน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือ น้ำมันรำข้าว
- ลดปริมาณการใช้เนย น้ำมันปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงน้ำมันสลัดชนิดข้น
- หลีกเลี่ยงหารที่มีไขมัน และโคเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง ถั่วลิสง
- ลดหรือเลี่ยงอาหารประเภทอด เปลี่ยนเป็นอาหารประเภท ต้ม ย่าง นึ่ง แอบ แทน
- ลดปริมาณอาหารกลุ่มเหล่านี้
- ขนมหวานต่างๆ เช่น คุกกี้ ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ไอศกรีม ขนมน้ำเชื่อมต่างๆ หรือขนมอื่นๆที่ทำด้วยน้ำตาล
- อาหารและขนมที่มีการใช้กะทิ
- นมหวานทุกชนิด และโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
- เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำหวาน เช่น โอเลี้ยง กาแฟเย็น ชาเย็น
- ผลไม้หวานจัด เช่น ละมุด ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ขนุน น้อยหน่า ลำไย เป็นต้น ตลอดจนผลไม้เชื่อม กวน แช่อิ่ม ตากแห้ง และผลไม้บรรจุกระป๋อง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ด้วย
- ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต จึงควรจำกัดปริมาณเกลือ และรสเค็มจัดในอาหารที่รับประทาน ซึ่งทำโดย
- ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด จำกัดปริมาณเกลือ น้ำปลา และซอสปรุงรสต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร จำพวกหมักดอง อาหารแปรรูป เช่นแฮม ไส้กรอก ไข่เค็ม ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูปต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรสในการประกอบอาหาร
ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อควบคุมอาหารจนน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างส่ำเสมอผู้ป่วยเบาหวานรับประทานอาหารเหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพียงแต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในชนิดและปริมาณของอาหารเท่านั้น