เบาหวานกับการถือศีลอด

    การถือศีลอด คือ การละเว้นจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ รวมถึงยารักษาโรค โดยปกติแล้วผู้เป็นเบาหวานจะได้รับการยกเว้นการถือศีลอดได้เนื่องจากการถือศีลอดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะร่างกายขาดน้ำ และภาวะเลือดเป็นกรด

ข้อควรปฏิบัติในช่วงถือศีลอด

อาหาร

  • รับประทานอาหารให้มีปริมาณแคลอรีที่เหมาะสม (มื้อหลังอาทิตย์ตกและมื้อก่อนรุ่นเช้า)และอาจเพิ่มอาหารว่าง 1-2 มื้อหากจำเป็น
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากในช่วงเวลาที่รับประทานอาหารได้ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและเครื่องดื่มรสหวาน รวมทั้งขนมหวาน

เป็นตัวอย่างในการจัดมื้ออาหารแต่ละมื้อ

  1. นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
  2. ข้าวแป้ง 4 ทัพพี
  3. ผัก 1-2 ทัพพี
  4. ผลไม้ 1 ส่วน
  5. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 8 ช้อนโต๊ะ
  6. ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ทัพพี
  7. น้ำมัน 2 ช้อนชา
  8. อินทผาลัม 1-2 ผล

เลือกกินอาหารที่มีไฟเบอร์มาก, มีน้ำตาลน้อย เจาะน้ำตาลในเลือก 1-2 ครั้งต่อวันหรือมากครั้งขึ้นไปในผู้ป่วยมีความเสี่ยงและตรวจเมื่อมีอาการ หากเกิดภาวะน้ำตาลสูงกว่า 300 หรือต่ำกว่า 70 จำเป็นต้องหยุดการอดอาหารแก้ไขภาวะนั้นก่อน

คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จะถือศีลอด

  • ปรึกษาแพทย์
  • ฝึกการถือศีลอดช่วงเดือนอุซะบานก่อน
  • เปลี่ยนยาชนิดออกฤทธิ์นานเป็นยาชนิดฤทธิ์สั้นภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ยาเบาหวานมื้อเช้าและเที่ยงแนะนำให้เลื่อนเป็นมื้อหลังอาหารเย็นหลังเปิดบวช (If tar)
  • ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติ

ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ถือศีลอด ดังนี้

  • ผู้ให้นมบุตร
  • ผู้มีภาวะเลือดเป็นกรดสับสนจากระดับน้ำตาลสูงในเลือดภายใน 3 เดือนก่อนการถือศีล
  • ผู้ที่มีมีประวัติน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย
  • ผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผู้ที่ใช้ยาฉีดอินซูลินเป็นประจำ
  • ผู้ป่วยไตวาย ระยะที่ 3 ขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมในระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • เลือดออกทางเดินอาหาร แผลที่กระเพาะอาหาร
  • โรคลมชักที่ยังไม่สงบ
  • โรคไมเกรนที่กำเริบบ่อย
  • มีประวัติน้ำตาลเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากๆ
  • ผู้ที่ใช้แรงงานหนัก
  • ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคร่วมมาก
  • ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาที่มีผลต่อจิตประสาท