กุ้งยิง (HORDEOLUM.STY)

ตากุ้งยิง (Stye หรือ Hordeolum) คือ โรคติดเชื้อที่บริเวณเปลือกตาทำให้เกิดเป็นฝี หรือตุ่มหนอง ที่ขอบเปลือกตาพนได้ทั้งเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง

บริเวณขอบเปลือกตาของคนเราจะมีต่อมเล็กๆ เป็นจำนวนมาก ถ้ามีการติดเชื้อแบคที่เรียจะทำให้อักเสบเป็นฝีที่เปลือกตา เรียกว่า “กุ้งยิง (Hordeolum. Sty)” ทำให้มีก้อนที่เปลือกตามีอาการบวมแดงและเจ็บบริเวณเปลือกตาถ้าปล่อยทั้งไว้ต่อไป ก้อนนี้จะเป็นหนองและอาจแตกเองได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดกุ้งยิง

กุ้งยิง เกิดจากการติดซื้อแบคที่เรีย เนื่องจากมีการอุดต้นของต่อมเปลือกตานำมาก่อนแล้วเกิดการติดเชื้อ ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในบริเวณนั้นตามมา เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกุ้งยิงส่วนใหญ่ ได้แก่ เชื้อสแตพไฟโลดคอครัส ต้นเหตุที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ได้แก่

  • เปลือกตาไม่สะอาดมักเกิดจากการขยี้ตาบ่อยๆ
  • ใช้เครื่องสำอางแล้วล้างออกไม่หมด หรือล้างไม่สะอาด
  • ใส่คอนแทคเลนส์ด้วยมือ ที่ไม่สะอาด

” บางราย เกิดเนื่องจาก มีการอุดตันของต่อมเปลือกตานำมาก่อน”

การรักษา

กุ้งยิง ในระยะแรก ซึ่งมีลักษณะแบบเปลือกตาอักเสบยังไม่มีหนอง รักษาโดยการประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 3 – 4 ครั้งครั้งละประมาณ 15 – 20 นาที เป็นเวลา 3 – 4 วัน เพื่อช่วยลดอาการบวม เจ็บ และเป็นการทำให้รูเปิดของต่อมเปลือกตาไม่อุดตัน ในขณะทำการประคบให้หลับตาไว้ การใช้ยา ควรได้รับการตรวจตา และสั่งยาโดยแพทย์ยาที่ใช้มักเป็นยาปฏิชีวนะหยอดตา ป้ายตา และบางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะรับประทานร่วมด้วย

  • กุ้งยิ่งที่เป็นประมาณ 2 – 3 วันขึ้นไป ถ้ายังไม่ดีขึ้นมักจะมีหนองอยู่ภายในก้อนจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อเจาะ และขูดเอาหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3 – 5 วัน หรือจนกว่าจะหายอักเสบในบางรายอาจเป็นซ้ำได้ถ้ำติดเชื้อใหม่
  • หลังการเจาะกุ้งยิง แพทย์มักปิดตาข้างนั้นไว้เพื่อไม่ให้เลือดออกและช่วยลดอาการบวมประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง ท่านไม่ควรขับรถในข่วงนั้นเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้
  • ถ้ามีอาการปวดเจ็บบริเวณที่เป็น ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซลตามอลครั้งละ 1 – 2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
  • ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเองเพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้นได้

การป้องกัน

  • ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณเปลือกตา และใบหน้า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณเปลือกตา หรือขยี้ตาบ่อยๆ
  • ทำการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นเพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้การอักเสบเป็นมากขึ้น

“กุ้งยิงเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อซึ่งอาจป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ ถ้าระมัดระวังในเรื่องของสุขอนามัย กุ้งยิงไม่ใช่โรคร้ายแรง โดยทั่วไปมักรักษาให้หายได้ภายใน 1 สัปดาห์ ในกรณีที่เป็นกุ้งยิงนานผิดปกติ หรือเป็นซ้ำบ่อยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป”