หากถามถึงโรคที่กำลังฮิตในกลุ่มคนทำงาน หรือกลุ่มคนเมือง เชื่อว่า “โรคกรดไหลย้อน” (Gastroesophagealreflux disease, GERD) ต้องติดอยู่ในอันดับตันๆ ที่ถูกพูดถึงด้วย เพราะเป็นโรคที่สร้างความทรมานให้กับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักละเลยการ ตรวจพบแพทย์ด้วยเห็นเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วนับเป็นการเสียโอกาสทั้งทางต้านการรักษา ทรัพย์สิน ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกช้อนรุนแรง อาทิ หลอดอาหารตีบ หรือแม้แต่มะเร็งหลอดอาหาร
ดังนั้นเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยเงียบใกล้ตัวเรื่องนี้ คอลัมน์ Health จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการของโรครวมถึงแนวทางปฏิบัติตัวที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ไปพร้อมกัน
อาการแบบไหนเรียกว่าเป็นกรดไหลย้อน
หลายคนสงสัยว่าอาการแบบไหนที่จะบ่งชี้ว่าเราเป็นโรคกรดไหลย้อน อาการเรอบ่อยๆ นับว่าใช้อาการของโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ นายแพทย์ภูมิมาศ เอื้อสุขพันธ์ปราณีอายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลวิภาราม ได้อธิบายถึงอาการของโรคกรดไหลย้อนไว้ว่า โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่มีความผิดปกติของกรดในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการหลากหลาย ซึ่งสามารถบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นที่ตัวหลอดอาหารโดยตรง และ กลุ่มอาการที่ไม่ได้เกิดที่หลอดอาหาร
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นที่หลอดอาหารโดยตรง
สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการแสบร้อนบริเวณยอดอกหรือมีอาการเรอเปรี้ยว เรอแล้วมีน้ำย่อยหรืออาหารไหลขึ้นมาในคอ ซึ่งอาการตังกล่าวถือเป็นอาการจำเพาะของโรคกรดไหลย้อน แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ทันทีโดยไม่ต้องตรวจเพิ่ม ดังนั้นหากเป็นแค่อาการเรอบ่อยที่ไม่มีเรอเปรี้ยวหรือมีน้ำย่อยขึ้นมาด้วยจึงไม่นับว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน แต่สำหรับ
กลุ่มอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นหลอดอาหาร ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการคออักเสบ เจ็บหน้าอก มีก้อนในคอ หรือ
หอบหืด อาการในกลุ่มนี้แพทย์จะทำการวินิจฉัยต่อด้วยการส่งตรวจว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการในกลุ่มหลังนี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน นายแพทย์ภูมิมาศ อธิบายเพิ่มเติมว่า เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดนี้มีหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ตังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดเกิดการคลายตัว จึงส่งผลทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ง่ายทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามที่ได้กล่าวไป
วิธีรักษา
วิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากพบว่าพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตบางอย่าง ส่งผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้หลีกเสี่ยงปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้เช่น งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีชีสเป็นส่วนประกอบ รวมถึง ชา กาแฟ (ทั้งที่มีและไม่มีคาเฟอีน) ช็อกโกแลต ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่อ้วนเกินไป และควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ นอนให้ห่างจากมื้ออาหารอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงและนอนยกหัวสูงประมาณ 6 นิ้ว ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้
- การรักษาด้วยยา เนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อหูรูด และยังไม่มียาที่ออกฤทธิ์โดยตรง ดังนั้นยาที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือยาในกลุ่มลดกรด เพราะยาจะเข้าไปลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารดังนั้นเมื่อเกิดการไหลย้อนขึ้นอีกจึงไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น
ตามสถิติผู้ป่วยประมาณ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ หลังจากหยุดยาจะกลับมามีอาการภายใน 6 เตือน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะต้องกินยาตลอด และในรายที่ไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้กินเฉพาะเวลาที่มีอาการ เช่น 1 – 2 สัปดาห์แล้วหยุดยา ขณะเตียวกันก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำอีก
- การผ่าตัด คือการไปผ่าตัดรัดให้บริเวณกล้ามเนื้อหูรุตแคบลง ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ยากขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นวิธีการสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา
จะเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนซึ่งนอกจากจะช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำแล้ว ยังเป็นอีกหนทางในการดูแลสุขภาพโดยรวมเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวันนี้คุณจะมีอาการของโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ การเลือกที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆย่อมเป็นดั่งเกราะป้องกันชั้นดีให้กับร่างกายของเรานั่นเอง
Do you know
มีรายงานว่าการรับประทานยากลุ่มลดกรดเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (โดยเฉพาะในผู้หญิง)และถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับการเป็นมะเร็งในผู้ป่วยที่รับประทานยาลดกรดเป็นเวลานาน ในทางทฤษฎีอาจส่งผลทำให้เซลล์กระเพาอาหารมีการกลายพันธุ์เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งขึ้นได้