นมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ที่มีต่อลูก
1. เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก
2. ป้องกันการติดเชื้อ เด็กทารกที่ได้รับนมแม่จะไม่ป่วยบ่อย เนื่องจากมีสารภูมิคุ้มกันจากแม่ ช่วยป้องกันโรคท้องเสีย ปอดอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบเป็นต้น
3. ลดภูมิแพ้ โปรตีนในนมแม่จะจำเพาะกับเด็กทารกลดการเกิดภาวะแพ้นมวัว และแพ้อาหารได้
4. ช่วยให้ฉลาด เพราะในนมแม่มี DHA กรดอะมิโน ทอรีน เป็นต้น
5. มีสารอาหารอื่นๆ ที่ไม่มีในนมผสมมากกว่า 100 ชนิด

1. ป้องกันการตกเลือด ขณะที่ลูกดูดนมจะมีการหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ทำให้มดลูกมีการหดตัว ช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
2. เสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูก
3. ลดการเกิดมะเร็งเต้านม
4. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
5. ช่วยคุมกำเนิดได้บ้าง โดยต้องให้ลูกดูดนมอย่างสม่ำเสมอ
 
อุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1. หัวนมสั้น หัวนมบอด หัวนมบุ๋ม/แบน
2. หัวนมแตก เป็นฝีหรืออักเสบ
3. มีพังผืดยึดใต้ลิ้นทารก
4. ลูกไม่ยอมดูด หรือหลับขณะดูดนม
5. ลูกป่วย
6. น้ำนมแม่ไม่พอ
 
เคล็ดลับการดูดนมแม่ให้สำเร็จ
1. มีการเตรียมเต้านมขณะตั้งครรภ์
2. แม่ผ่อนคลาย ไม่เครียด และบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะ คุณพ่อคอยให้กำลังใจ
3. ดูดนมให้ถูกวิธี ดูดบ่อย และสม่ำเสมอ ไม่ดูดหัวนมปลอม
4. อุ้มลูกถูกวิธีจะทำให้ลูกสามารถอมหัวนมได้อย่างถูกต้อง
 
เวลาที่เหมาะสำหรับการเริ่มให้นมบุตร
– ทารกคลอดครบกำหนด
         หากไม่มีปัญหาภาวะขาดออกซิเจน สามารถให้ดูดนมแม่ได้ภายใน 1/2 – 6 ชั่วโมงหลังคลอด
– ในช่วง 2 – 3  วันแรกของการให้นม
         ให้ทารกดูดตามที่ทารกต้องการหรือทุก 1 – 2ชั่วโมง และเมื่อนมแม่ไหลดีให้ทุก 2 – 3 ชั่วโมง (8 – 12 ครั้งต่อวัน)
 
อาการแสดงที่บอกว่าลูกได้รับนมพอ
1. ทารกสงบลงหลังดูดนม
2. นอนหลับ 2 – 3 ชั่วโมง
3. ปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง/วัน, อุจจาระ 4-6 ครั้ง/วัน
4. เต้าที่ไม่ได้ดูดมีนมหยด ได้ยินเสียงกลืนนม และเต้านมนุ่มลงจากเดิมที่เต้าคัดตึง
 
ปัจจัยที่ทำให้ลูกดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพ
1. สภาพร่างกายแม่และลูกปกติ
2. แม่อุ้มด้วยความมั่นใจ ท่าผ่อนคลาย ไม่ทำให้ปวดเมื่อย
3. จับเต้านมใส่ปากลูกอย่างถูกวิธี
4. ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานนม ริมฝีปากทั้งสองบานออก คางและแก้มชิดเต้านม ท้องลูกชิดกับท้องแม่
5. เวลาที่ลูกดูดจะไม่รู้สึกเจ็บหัวนม ดูดกลืนเป็นจังหวะได้ยินเสียงกลืน
6. เฉลี่ยเด็กจะดูดประมาณ 10 – 30 นาที
 
การบีบเก็บน้ำนม
1. บรรเทาอาการตึงเต้านม
2. ประเมินปริมาณน้ำนม
3. กระตุ้นและคงไว้ในกรณีที่ลูกดูดนมจากเต้านมแม่เองไม่ได้ เช่น ลูกป่วย แม่ทำงานนอกบ้าน
4. เก็บสะสมเป็นคลังนมให้ลูก
 
การเก็บรักษาน้ำนม
1. เก็บน้ำนมใส่ถุงในปริมาณที่ลูกกินหมดพอดีในแต่ละมื้อ
2. เก็บน้ำนมใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด เขียนวันที่และเวลาที่จัดเก็บเรียงลำดับก่อนหลัง
3. สามารถเก็บใส่ตู้เย็นใต้ช่องแข็ง (4 °C) ได้นาน 2 วันเก็บช่องแช่แข็ง ตู้เย็น 1 ประตูจะเก็บได้นาน 2 สัปดาห์ ถ้าตู้เย็น 2 ประตู (-14 °C) เก็บได้นานประมาณ 3 เดือน
4. การนำน้ำนมที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำมาวางใช่ช่องธรรมดาจนละลาย สามารถให้ลูกกินนมเย็นได้หรือแช่น้ำร้อนให้อุ่นขึ้นก็ได้ ห้ามอุ่นด้วยไมโครเวฟ
5. ห้ามนำน้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วไปแช่ใหม่ และควรใช้ภายใน 2 – 4 ชั่วโมง