ปวดท้องน้อยในสตรี อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการที่มักพบได้ในผู้หญิง ซึ่งเป็นอาการที่น่ารำคาญรบกวนจิตใจและประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งในทางการแพทย์ เราสามารถแยกอาการปวดท้องน้อยเป็นสองระยะ คือ
- อาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
- อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
ซึ่งสาเหตุและอาการของทั้ง 2 อย่างพบต่างกัน ดังนี้
อาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
คือ อาการปวดท้องน้อย ที่เกิดขึ้นฉับพลัน สาเหตุที่มักพบ ดังนี้
สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคทางสตรี
- ถุงน้ำรังไข่บิดขั้ว แตกหรือมีเลือดออก
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ปีกมดลูกหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด
- แท้งบุตร
สาเหตุอื่นๆ
- ไส้ติ่งอักเสบ
- นิ่วในท่อไต
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
คือ อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นมานานกว่า 6 เดือน สาเหตุที่มักพบมีดังนี้
สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคทางสตรี
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่,เอ็นโดรเมดทริโอลิส,ช็อกโกแลตชีส
- ปีดมดลูกหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน
- หลอดเลือดขอดในอุ้งเชิงกราน
- เนื้องอกในโพรงมดลูก
สาเหตุอื่นๆ
- โรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังและเส้นประสาท
- โรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
- โรคที่เกี่ยวกับลำไส้และการขับถ่าย
การวินิจฉัยอาการปวดท้องน้อยในสตรี
แพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายอย่าละเอียด อาจต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์หรือการตรวจทางเอ็กซเรย์เพิ่มเติม และในปัจจุบันมีการนำเอาการผ่าตัดผ่านกล้องทางช่องท้องเข้ามา ช่วยในการตรวจวินิจฉัย และรักษาอาการปวดท้องน้อยในสตรีไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังด้วยการเจาะช่องขนาดเล็ก 0.5-1 เซนติเมตร เข้าไปในช่องท้อง เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน เมื่อตรวจพบความผิดปกติ ก็สามารถผ่าตัดรักษาต่อได้ในทันที ซึ่งช่วยให้การรักษาเป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วการผ่าตัดด้วยกล้องจะทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก อาการเจ็บแผลน้อย ระยะฟักตัวสั้น และสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว