ใครสามารถทำการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารได้บ้าง ?

เมื่อไรควร “ผ่าตัด” ลดขนาดกระเพาะอาหาร ?

ผู้ที่มีภาวะอ้วน ต้องเผชิญกับการลดน้ำหนัก บางคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวขึ้นได้จนเป็นปัญหาต่อสุขภาพ การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนที่เป็นโรค ซึ่งคุณสมบัติ ข้อบ่งชี้ในการรักษา มีดังนี้

ผู้รับบริการต้องมี อายุ 18-65 ปี มีข้อบ่งชี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ ดังต่อไปนี้

  1. มีดัชนีมวลกาย(BMI) 37.5 kg/m²  ขึ้นไปที่ไม่มีโรค
  2. มีดัชนีมวลกาย(BMI) 32.5 kg/m²  ขึ้นไปมีโรคประจำตัวหรือโรคร่วม ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
    • โรคเบาหวาน
    • ความดันโลหิตสูง
    • ภาวะไขมันในเลือดสูง
    • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (OSA)
    • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS)
    • ไขมันเกาะตับ Non-alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) / Non-alcoholic steatohepatitis (NASH)
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease)
    • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure)
    • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง Chronic venous insufficiency (CVI)
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
    • น้ำหนักตัวผิดปกติจากผลของฮอร์โมน
  3. ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย 30.0 kg/m²  ขึ้นไป ร่วมกับเป็นเบาหวานชนิดที่2 (type 2 DM) ที่ควบคุมโรคไม่ได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาแบบมาตรฐาน

ใครสามารถทำการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารได้บ้าง ?

การผ่าตัดกระเพาะอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกคน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับ กับความเสี่ยงของการผ่าตัดรวมถึงตรวจร่างกาย เพื่อดูความพร้อมของสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล สามารถประเมินเบื้องต้นจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >32.5 kg/m² ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >37.5 kg/m² เหล่านี้ เข้าเกณฑ์ที่แนะนำว่าสามารถผ่าตัดได้ กรณีอื่น ๆ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานแสดงสภาวะความสมดุลของร่างกาย คำนวณโดยใช้สูตร

“ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)”

คนปกติ ควรมีค่า BMI อยู่ที่ 18.5 – 22.9 kg/m² หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ

  • ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
  • ค่า BMI  25.0 -29.90 kg/m²  “อ้วนระดับ 1”
  • ค่า BMI  มากกว่า 30 kg/m²  อ้วนระดับ 2

หากดัชนีมวลกาย (BMI) เกินกว่า 25 kg/m² ถือว่าเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน (Obesity) ซึ่งถือเป็นความผิดปกติ ของร่างกาย ที่มีปริมาณไขมันสะสมตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ เกินมาตรฐาน จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก ควบคุมปริมาณ น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนตามมา

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 37.5 หรือ BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 32.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัว ชำระส่วนต่าง 58,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ประกันสังคมกำหนด)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกลดน้ำหนัก (Wt.Reduction Clinic)

ID Line : @808bmgmr