อาการปวดท้อง (ABDOMINAL PAIN)
Comment 0

อาการปวดท้อง มีสาเหตุจากอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องท้อง เช่น ตับ ม้าม กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ ในสตรีที่ยังมีอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น มดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาปวดท้องได้

ดังนั้น กรที่ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วย สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาการปวดท้องได้มากเท่าใดแพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้และทำการตรวจวินิจฉันเพิ่มเติมได้ถูกต้อง รวดเร็ว โดยไม่เสียเวลา หรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

สาเหตุอาการปวดท้อง

  1. อาการปวดท้องที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ยกตัวอย่างเช่น ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ภาวการณ์ติดเชื้อ ตับ และตับอ่อนอักเสบ ท้องเสียและอาหารเป็นพิษ เป็นต้น
  2. โรคจากอวัยวะภายในสตรี เช่น อาการที่เกิดจากการตั้งครรภ์ อวัยวะในอุ้งเชิงกราน
  3. โรคบางอย่างที่อาจต้องนึกถึงด้วย ได้แก่ โรคของหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน โรคปอดอักเสบ
  4. โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต กรวยไตอักเสบ เป็นต้น

อาการปวดท้อง

  1. อาการปวดท้องอาจมีลักษณะปวดเสียด ปวดตื้อๆ ปวดบิดบางครั้ง ปวดไม่นาน ปวดแค่ไม่กี่นาทีแล้วก็หายปวด หรือปวดท้องชนิดไม่หายเสียที
  2. บางครั้งปวดท้องแล้วอาเจียน หลังจากได้อาเจียนอาจรู้สึกดีขึ้นบ้าง
  3. ลักษณะของอาการปวดท้องและตำแหน่งที่ปวดช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ เช่นเดียวกับความรุนแรงของอาการปวดท้อง และช่วงเวลาที่เกิดอาการปวดท้อง
  4. การบันทึกติดตามอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย
  5. อาการปวดท้องที่มีสาเหตุจากการอักเสบของไส้ติ่งนั้นมักจะเป็นการปวดเจ็บเฉพาะที่ท้องน้อยข้างขวา แต่อาจเริ่มแทนแถบบริเวณรอบสะดือ อาการปวดอาจเริ่มน้อยๆด่อน แล้วเพิ่มความรุนแรงจนตัวงอ บริเวณที่รู้สึกปวดมักมีอาการเจ็บมากขึ้น ถ้าใช้นิ้วกดลงบริเวณนั้น

อาการปวดท้องที่ควรไปพบแพทย์

  1. ปวดนานกว่า 3 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
  2. ปวดจนทานอาหารไม่ได้
  3. ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
  4. อาการปวดท้องเป็นมากขึ้นเมื่อขยับตัว
  5. ปวดท้องที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
  6. อาการปวดรุนแรงจนทำให้นอนไม้ได้
  7. อาการปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
  8. มีไข้ร่วมด้วย
  9. หากอาการปวดท้องผิดแปลกแตกต่างไปจากปวดท้องธรรมดาๆ ก็ไม่ควรวางใจ ควรพิจารณาไปรับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *