การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง
Comment 0

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง เป็นการส่องเพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy ) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ( Sigmoidoscopy ) ซึ่งเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัยใช้เวลาทำไม่นานถ้าผู้ป่วยอายุน้อยไม่มีโรคประจำตัวก็มักจะอยู่ในลักษณะของผู้ป่วยนอก แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ โรคตับและโรคไตจำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยลดกาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างและหลังการตรวจ

            การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy) คือการใช้กล้องส่องผ่านทางทวารหนักเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคบริเวณลำไส้ใหญ่รวมถึงลำไส้เล็กส่วนปลายรวมทั้งการรักษาผ่านทางกล้องในบางโรค

ผู้ป่วยที่ควรเข้ารับการตรวจ

  1. ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
  2. ญาติของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งหรือมีเนื้องอดในลำไส้ใหญ่
  3. บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
  4. ผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ปวดท้อง , มีเลือดออกทางทวารหนัก , ท้องเสียเรื้อรัง

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  1. แพทย์ให้คำแนะนำ และอธิบายขั้นตอนการตรวจ ประโยชน์ของผู้ป่วยที่จะได้รับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดและให้ผู้ป่วยลงนามยินยอมเข้ารับการตรวจ
  2. แจ้งแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับประวัติ โรคประจำตัว การแพ้ยา
  3. ผู้ป่วยต้องดอาหารและน้ำ ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 6 ชม. เพื่อป้องกันการสำลักอาหารลงปอด เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวด และยานอนหลับขณะนอนตรวจ
  4. ผู้ป่วยจะได้รับยาระบายเพื่อลดปริมาณอุจจาระที่ค้างในลำไส้ใหญ่ 1 วันก่อนทำการตรวจผู้ป่วยต้องรับประทานยาระบายตามที่กำหนด และดื่มน้ำตามปริมาณไม่น้อยกว่า 2 – 3 ลิตร
  5. หากมีผลการตรวจอื่นๆ ที่เคยตรวจก่อนหน้านี้ให้เตรียมมาด้วย

ขั้นตอนการตรวจ

  1. ผู้ป่วยนอนตะแคงด้านซ้าย
  2. แพทย์จะทำการตรวจทางทวารหนัก เพื่อประเมินก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
  3. แพทย์จะให้ยาฉีดระงับอาการปวดและยานอนหลับแก่ผู้ป่วย เผื่อลดอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขณะตรวจ
  4. แพทย์ผู้ตรวจจะทำการส่องกล้องผ่านทวารหนักข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เพี่อคูรายละเอียดขงผนังลำไส้ ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือในขณะตรวจ สามารถผายลมได้ตลอดเวลา
  5. ในกรณีที่ผู้ป่วยกังวล มีอาการปวดหรือรู้สึกอึดแน่นท้องระหว่างการส่องกล้อง สามารถแจ้งแพทย์หรือพยาบาลได้

ข้อควรรู้และการปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้อง

  1. งดอาหารและน้ำประมาณ 1 ชั่วโมงจนกว่าอาการทั่วไปหรือระดับความรู้สึกตัวดีปกติ
  2. ในกรณีตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ อาจมีเลือดออกปนอุจจาระเล็กน้อยใน 2 วันแรก
  3. ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน มีไข้หรือเลือดออกจากทวารหนักมากกว่าครึ่งถ้วยกาแฟ ควรพบแพทย์ด่วน
  4. อาการท้องอืด แน่น เกิดจากลมที่แพทย์ใส่เข้าไปในลำไส้เพื่อการตรวจลักษณะนี้จะหายไปในเวลาไม่นาน ช่วงแรกหลังการส่องกล้องผู้ป่วยมีความรู้สึกปวดท้องถ่ายได้บ่อยๆ ผู้ป่วยควรพักอยู่บริเวณใกล้ห้องน้ำ เพื่อความสะดวกไม่ต้องเดินไกล หากต้องการเข้าห้องน้ำ
  5. อาจมีอาการมึนศีรษะ วิงเวียน หลังการส่องกล้องเกิดจากผลของยานอนหลับ / ยาแก้ปวดที่ได้รับ ไม่แนะนำให้ขับรถเอง หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรในวันที่ทำหัตถการและอาหารเหล่านี้จะต่อยๆหายไปเอง
  6. ควรมีญาติมาด้วยเนื่องจากว่าผู้ป่วยได้รับยานอนหลับ ทำให้มีปัญหาในการเดินทางกลับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *