งูสวัด (HERPES ZOSTER)
Comment 0
            โรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อ Varicella Zoster ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดไข้สุกใส ผู้ที่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในปมประสาทสันหลัง เมื่อถูกกระตุ้นจะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคงูสวัดได้ บริเวณที่พบได้บ่อยคือบริเวณเอว คอ ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากธรรมชาติ เช่น ผู้สูงอายุ หรือจากโรค เช่น โรคเบาหวาน เอดส์ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การรับประทานยาที่มีสเตียรอยด์ ยารักษามะเร็งจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ผู้สูงอายุมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก

อาการ

            เริ่มปวดศีรษะ เห็นแสงจ้าไม่ได้ ปวดตามตัว มักจะไม่มีไข้ ต่อมาจะมีอาการทางผิวหนังอาจจะแค่คันผิวหนัง บางคนปวดแสบปวดร้อน บางรายเสียวที่ผิวหนัง อีก 1-5 วันต่อมาจะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม หลักจากนั้นเกิดเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นออยู่ซีกหนึ่งของร่างกายตามแนวเส้นประสาท ตุ่มน้ำใสจะอยู่ประมาณ 5 วัน แล้วผื่นจะตกสะเก็ดและหายภายใน 2-3 สัปดาห์ อาจทิ้งรอยแผลเป็น ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น โรคมะเร็ง เอดส์ หรือได้ยากดภูมิ เช่น เพนนิโซโลน ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบโรคงูสวัดได้บ่อยและเป็นมาก

ภาวะแทรกซ้อน

- อาการปวดปลายประสาท ภายหลังรอยโรคหายแล้ว บางรายอาจทำให้มีอาการเป็นอัมพาตบริเวณใบหน้าซีกหนึ่ง
- อาการแทรกซ้อนทางตา ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ
- การติดเชื้อแบคทีเรียที่แผล
- ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจพบภาวะสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ ผื่นที่ผิวหนังกระจาย ปอดบวม
- งูสวดในผู้ป่วยโรคเอดส์ ผื่นจะมีอาการรุนแรงมากกว่าในคนปกติ

การรักษา

            โรคงูสวัดเป็นโรคที่หายได้เองในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน การรักษาโรคงูสวัด แพทย์จะเป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ได้แก่

- ช่วงตุ่มน้ำใสใช้น้ำยา Burow’s Solution ประคบตุ่มครั้งละ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง หากไม่มีน้ำยา Burow’s Solution ให้ใช้น้ำเกลือธรรมดาแทน
- เมื่อผื่นเริ่มแห้งใช้ครีมที่มีส่วนผสมของปฏิชีวนะทา
- ให้ยาบรรเทาอาการปวดลดไข้
- ยารับประทาน ควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากผื่นขึ้น ซึ่งจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวด และจำนวนเชื้อในตุ่ม ไม่นะนำให้ใช้ยาในสตรีมีครรภ์
- ยาต้านเชื้อไวรัส ใช้ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานบกพร่องและผู้ป่วยที่มีอาการ

การดูแลตนเอง

- รักษาแผลให้สะอาด ระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผล
- ในรายที่เป็นมากหรือรุนแรงต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที
- ผู้ที่เป็นบริเวณใบหน้า จมูก อาจมีโอกาสลุกลามเข้าไปในแก้วตาได้ ต้องปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรักษาที่ถูกต้อง
- ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าเป็นงูสวัดหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย รับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *