ปวดศีรษะ Headache
อาการปวดศีรษะ เป็นภาวะที่พบบ่อยโดยที่ภาวะปวดศีรษะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามระยะเวลาที่เป็นคือ เฉียบพลัน และเรื้อรังโดยทั้งสองกลุ่มมีสาเหตุได้จากมีและไม่มีคาวะผิดปติในสมอง (เนื้องอสมอง, โรคหลอดเลือดทางสมอง,ภาวะแรงดันน้ำในโพรงสมองสูงกว่าหรือต่ำกว่าปกติและอื่นๆ) Headache Type - Sinus - Tension - Migraine - Cluster
การจำแนกชนิดของอาการปวดศีรษะที่พบบ่อย
- ไม่มีสาเหตุชัดเจนทางสมองหรืออวัยวะข้างเคียง ได้แก่
- ไมเกรน, กล้ามเนื้อตึงตัว, ปวดแบบคลัสเตอร์ (cluster), ปวดตามหลังกาวะบางอย่าง เช่น ไอ,
การร่วมเพศ,การออกกำลังกายอย่างหนัก
- มีสาเหตุซัดเจน ได้แก่
- สัมพันธ์กับอุบัติเหตุทางศีรษะ, ภาวะหลอดเลือดผิดปกติ (ตีบ, แตก, อักเสบ, โป้งพอง), การติดเชื้อในสมองหรือบริเวณข้างเคียง (ไซนัส, ตา, ชู, จมูก), ความผิดปกติของน้ำในโพรงสมอง, ปวดตามวิถีประสาท
อาการปวดศีรษะที่อาจเป็นอันตรายและอาจพิจารณาเอกซเรย์ต่อ
- ปวดครั้งแรกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
- ความที่, ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน
- ปวดด้านเดียวตลอด และเรื้อรัง
- อาการปวดไม่ตอบสนองต่อการรักษา
- ครั้งแรกในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือเอดส์
- ปวดศีรษะร่วมกับชัก
- มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้, คอเข็ง, ผิดปกติทางระบบประสาท, บุคลิกภาพเปลี่ยน เป็นต้น
การวินิจฉัย
สำคัญที่สุดคือประวัติเพื่อช่วยในการจำแนกชนิดได้มากกว่า 80%. นอกจากนั้นตรวจตามสาเหตุที่นึกถึง เช่นตรวจเลือด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็ก (CT scan หรือ MRI), เจาะตรวจน้ำไขสันหลัง, ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง,จัดสีตรวจหลอดเลือดสมอง
การรักษา
รักษาตามสาเหตุที่พบ หากเป็นแบบไม่มีสาเหตุชัดเจน (ในกลุ่มที่1)รักษาได้โดย
1. ไม่ใช้ยา
- โดยลดการใช้สิ่งกระตุ้น เช่น เครียด, อดนอน, อาหารบงชนิด, ไม่สบายจากสาเหตุอื่นๆ
- ฝึกผ่อนคลาย, พฤติกรรมบำบัด หรือจิตบำบัด
2. ใช้ยา ปรับตามระดับความรุนแรงและชนิดที่เป็น
อาการปวดศีรษะพบได้บ่อยที่สำคัญคือการสังเกตอาการและอาการแสดงหากเป็นรุนแรงหรือผิดปกติดังข้างต้นควรพบแพทย์เฉพาะทาง