โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก คือ โรคที่มีการกระตุกที่เกิดขึ้นเองที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทใบหน้า (เส้นประสาทสมองคู่ที่7)การกระตุกแล้วหยุด (clonic) ไม่สม่ำเสมอไม่เป็นจังหวะอาจมีการกระตุกเกร็ง (tonic)ร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อาการตากระตุกเล็กน้อยนำมาก่อน มักเริ่มเป็นที่บริเวณเปลือกตาล่างก่อนหรือที่เรียกว่า “อาการตาเขม่น” ซึ่งอาการหายเองได้แต่ในผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกอาการจะเป็นมากเรื่อยๆจนกระตุกที่กล้ามเนื้อรอบตาเป็นๆหายๆตลอด วัน และเมื่อเป็นมากขึ้นจะกระจายไปที่กล้ามเนื้อคอด้านเดียวกัน นอกจากนี้อาการอาจจะรุนแรงและถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนบางรายเป็นมากจนตาปิดสนิทอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่นเสียงกั๊กๆในหูขณะที่มีใบหน้ากระตุก หรืออาจมีการได้ยินลดลงในหูข้างที่มีใบหน้ากระตุกได้
โรคที่พบร่วม
โรคนี้อาจมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงพบร่วมกันร้อยละ20
สาเหตุของโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก
- กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ หมายถึง กลุ่มที่หาสาเหตุไม่พบแต่ปัจจุบันเชื่อกันว่าเกิดจากการกดทับของหลอดเลือด ต่อจุดออกของเส้นประสาทสมองคู่ที่7 ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ควบคุมการคเคลื่อนไหวของใบหน้า พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่ - กลุ่มที่ทราบสาเหตุ เช่น เนื้องอกสมอง กระดูกผิดปกติ หลอดเลือดแดงโป่ง เป็นต้น ซึ่งพบได้น้อย
การถ่ายถอดทางพันธุกรรม
โดยทั่วไปไม่ถ่ายทางพันธุกรรม หรือไม่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
การรักษา
การักษาแบ่งไดเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ
1.การไม่ผ่าตัด ได้แก่ การใช้ยารับประทานเช่น Clonazeparm ข้อดี คือ สะดวก ไม่เจ็บปวด และโรคแทรกซ้อนน้อย ผู้ป่วยมักดีขึ้นร้อยละ 50-80 ข้อเสีย คือ อาจมีอาการง่วงนอนจากยา ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีอาการใบหน้ากระตุกไม่มากนักและไม่หายขาด
การฉีดยาโบทูลินูม ท็อกซิน (Botox) เป็นสารที่สกัดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติกเดี่ยม โบทูลนุม ท็อกซินออกฤทธิ์โดยทำให้กล้ามเนื้อที่ฉีกอ่อนกำลังลง และลดการกระตุก ข้อดี คือ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการกระตุกมาก หรือทนผลข้างเคียงจากการกินยาไม่ได้ ผู้ป่วยมักดีขึ้นร้อยละ 90 ข้อเสีย คือต้องมาฉีดอย่างสม่ำเสมอและไม่หายขาด
2.การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไข หลอดเลือดกดทับเส้นประสาท (Mictovascular decompression) บริเวณก้านสอมง ข้อดีคือหายขาดได้ร้อยละ 91 และมีผู้ป่วยร้อยละ 9 ที่กลับมามีอาการกระตุก ข้อเสีย คือ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ผ่าตัดและเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้สูญเสียการได้ยินของหูข้างหนึ่งร้อยละ 2.6 ก้านสมองขาดเลือดร้อยละ 0.3 และเสียชีวิตร้อยละ 0.1 เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้กระตุกมาก
โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ - ภาวะความเครียดทางจิตใจ เช่น คิดมาก อ่อนเพลีย นอนไม่พอ การไปในที่ชุมชน - การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น การพูด การยิ้ม การใช้สายตามากเกินไป
ปัจจัยที่ทำให้กระตุกน้อยลง
โดยทั่วไปมักเป็นสิ่งที่ผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ ได้แก่ อารมณ์ดี จิตใจสบาย การนอนเต็มที่ การพักผ่อน การกดกกหูเป็นต้น
การพยากรณ์โรค
ส่วนมากไม่หายขาด และอาจเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาแต่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต หรือจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต - ประมาณครึ่งหนึ่ง อาจไม่เปลี่ยนแปลงหลังการรักษา - ประมาณร้อยละ 10 ดีขึ้นมากหลังรับการรักษา - ประมาณร้อยละ 30 ดีขึ้นปานกลางหลังรับการรักษา
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก หมายถึง โรคที่มีอาการกระตุกที่ เกิดขึ้นเอง ที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาท สมองคู่ที่7 เนื่องจากมีการกระตุกเรื้อรังเป็นๆหายๆอาจทำให้ผู้ป่วยมีความ อับอาย ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง มีปัญหาในการเข้าสังคมและหน้าที่ การงานได้ ทำให้เกิดความสูญเสียทางสังคม จิตใจ และการเงิน