ถุงน้ำดีอยู่ที่ไหน?
- ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่อยู่ใต้ชายโครงข้างขวาของรา ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง และที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือการสร้างน้ำดี
- น้ำดีที่ถูกสร้างที่ตับ จะไหลมาตามท่อตับ และถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
- เมื่อเรารับประทานอาหาร พออาหารมาถึงลำไส้เล็กส่วนต้นก็จะกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัว เพื่อเอาน้ำดีมาย่อยอาหารประเภทไขมัน และน้ำดีนี่เองทำให้อุจจาระของเรามีสีเหลืองทองหรือสีน้ำตาล
นิ่วถุงน้ำดี คืออะไร?
น้ำดีจะประกอบด้วยสารต่างๆ ที่สำคัญ คือ น้ำ, ไขมัน, โคเลสเตอรอล, เกลือน้ำดี และ ปิลิรูบิน (ซึ่งเป็นของเสียจากการตกสลายของเม็ดเลือดแดง) เมื่อใดก็ตามที่ความสมดุลของส่วนประกอบของน้ำดีเสียไป เช่น โคเลสเตอรอลขึ้นหรือบิลิรูบันสูงขึ้น ก็จะตกตะกอนเป็นนิ่ว ซึ่งทั้งหมด รวมเรียกว่า นิ่วถุงน้ำดี
อาการของนิ้วน้ำดีเป็นอย่างไร?
เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารประมาณ 1/2 ชั่วโมง อาหารก็จะเดินทางมาถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งจะกระตุ้นให้น้ำดีบีบตัวเพื่อย่อยอาหารดังกล่าวถ้าก้อนนิ่วไปอุดตันทางออกของถุงน้ำดี น้ำดีจะออกจาถุงน้ำดีไม่ได้ เนื่องจากเกิดการอุดตัน ถุงน้ำดีก็จะพยายามบีบตัวมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจุกเสียด แน่นท้อง จนกว่าถุงน้ำดีจะคลายการบีบรัด ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะค่อยๆ มีอาการดีขึ้น
ภาวะแทรกช้อนของนิ่วถุงน้ำดี มีอะไรบ้าง?
1. ถุงน้ำดีอักเสบ เมื่อน้ำดีออกจาถุงน้ำดีไม่ได้ ก็เกิดการคั่งค้างอยู่ และจะเกิดการติดเชื้อโรคตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้หนาวสั่น และอาจมีอาการเจ็บใต้ชายโครงข้างขวา ผู้ป่วยบางราย มีอาการตัดเชื้อรุนแรงอาจเป็นหนองในถุงน้ำดีได้ บางรายอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีการแตกทะลุของถุงน้ำดี ทำให้การอักเสบลุกลามไปในช่องท้องได้
2. ท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ป่วยบางรายก้อนนิ่วหลุดเข้ามาในท่อน้ำดี เกิดการอุดตันในท่อน้ำดี น้ำดีจะไหลลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ไม่ได้ จึงไหลย้อนเข้าสู่ตับ และเข้าสู่กระเสเลือด ผู้ป่วยจะมีภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เราเรียกว่า ภาวะดีซาน นอกจากนั้นเมื่อมีการอุดตัน ก็จะทำให้ก่อน้ำดีมีการอักเสบ และอาจมีหนองในท่อน้ำดีได้ ผู้ป่วยดังกล่าวก็จะมีไข้สูง หนาวสั่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดใต้ชายโครงข้างขวาร้าวไปด้านหลัง บางคนมีอาการมากจนเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อได้ ในผู้ป่วยบางรายนิ่วไปอุดทางเดินของน้ำย่อยตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี?
ในปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่อง อัลตราชาวด์ (UItrasound) โดยแพทย์ที่มีความชำนาญ สามารถให้การวินิจฉัยนิ่วถุงน้ำดีได้เกือบ 100%. และถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก ก็อาจจะเห็นนิ้วในท่อน้ำดีได้อย่างขัดเจนเช่นกัน แต่สำหรับผู้ที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และแพทย์สงสัยว่าอาจจะมีนิ่วในท่อน้ำดี อาจต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นอีก เช่น
1. การตรวจด้วยเครื่องเอ็กข์เรย์คอมผิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพของถุงน้ำดี และท่อน้ำดีตลอดจนตับ,ตับอ่อน และอวัยวะอย่างอื่นในช่องท้องได้อย่างชัดเจนตามแนวตัดขวางของลำตัว
2. การตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MลI) เป็นการตรวจคล้ายคลึงกับ CT scan แต่เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กเป็นตัวการในการตรวจ และเครื่องมือสามารถจะสร้างภาพของทางเดินน้ำดีให้เห็นเสมือนจริงได้ ทำให้แพทย์แปรผลได้แม่นยำขึ้น
การรักษาทำกันอย่างไร
นิ่วในถุงน้ำดี ในปัจจุบันเรามักใช้การผ่าตัดด้วยกล้อง โดยแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ บริเวณใต้สะดือ ใต้ลิ้นปี และใต้ชายโครงขวาเพื่อใส่กล้อง และเครื่องมือไปทำการผ่าตัดเอานิ่ว และถุงน้ำดีออก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิม
แต่ก็มีบางรายเหมือนกันที่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัด โดยการเปิดแผลใหญ่หน้าท้อง เช่น ผู้ป่วยเลยมีการผ่าตัดในช่องท้องมาแล้ว เพราจะมีพังผิดในช่องท้องมาก จนไม่สามารถสอดใส่กล้องเข้าไปได้
การผ่าตัดทั้ง 2 วิธี ให้ผลการรักษาเท่าเทียมกัน แต่การผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ จะเจ็บมากกว่า และมิฟังผิดเกิดขึ้นในช่องท้องมากกว่าเท่านั้นเอง
นิ้วในท่อน้ำดี ในปัจจุบันแพทย์จะใช้กล้องผ่านเข้าปากสู่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อเข้าไปขยายรูเปิดของท่อน้ำดี แล้วคีบเอานิ้วออก การกระทำแบบนี้เป็นการทดแทนการรักษาแบบเดิม ที่ต้องผ่าตัดเข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อเอานิ่วออกแล้วใส่ท่อระบายน้ำดีออกนอกร่างกาย
การผ่าตัดรักษาโรคนิ่วถุงน้ำดี
1. การผ่าตัดผ่านทางกล้อง
2. การผ่าตัดด้วยวิธีเปิดหน้าท้อง