ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
Comment 0

เมื่อใดที่เหมาะสมในการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ?

- ปวดประจำเดือนมาก สงสัยว่ามีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ช็อกโกแลตซีส
- มีเนื้องอกมดลูกที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด เช่น มีประจำเดือนมามาก หรือกดทับอวัยวะข้างเคียง
- มีถุงน้ำรังไข่ที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด
- เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
- วินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูกและผ่าตัดรักษา
    ด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ปัจจุบันทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยนรีเวชด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องแทนการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ทางหน้าท้อง โดยจะเจาะช่องขนาดเล็กทางหน้าท้องประมาณ 0.5 ซม. ถึง 1 ซม. 3 ถึง 4 ช่อง แล้วสอดกล้องกำลังขยายสูง และเครื่องมือพิเศษซึ่งมีขนาดเล็กเข้าในช่องท้องเพื่อทำการผ่าตัด ทำให้อาการเจ็บแผลน้อยกว่าและระยะเวลาในการพักฟื้นหลังผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

    ข้อดีในการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม

    - อาการเจ็บแผลน้อยกว่า
    - แผลขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเดิม ความสวยความของแผลมากกว่า โอกาสเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ (คีลอยด์) น้อยกว่า
    - ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังผ่าตัดน้อยกว่า
    - เกิดพังผืดในช่องท้องหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม เหมาะสำหรับผู้ต้องการมีบุตรในอนาคต
    - การใช้กล้องที่มีกำลังขยายสูงช่วยในการผ่าตัด ทำให้ความละเอียดและความประณีตในการผ่าตัดสูงกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

      การผ่าตัดผ่านกล้องทางโพรงมดลูก (Hysteroscopy)

                  การผ่าตัดผ่านกล้องทางโพรงมดลูกเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการสอดเครื่องมือผ่าตัดพิเศษ ซึ่งมีขนาดเล็กผ่านทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูกทำให้ไม่มีแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง เหมาะสำหรับผู้มีความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น เนื้องอก ติ่งเนื้อ หรือ พังผืดในโพรงมดลูก

      เมื่อใดที่เหมาะสมในการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้องทางโพรงมดลูก

      - มีประจำเดือนผิดปกติที่สงสัยว่ามีติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือพังผืดในโพรงมดลูก
      - ช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
      - แก้ไขผนังกั้นผิดปกติของมดลูกที่มีมาแต่กำเนิด

        ข้อดีในการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้องทางโพรงมดลูก

        - ไม่มีแผลผ่าตัดหน้าท้อง
        - เกิดพังผืดหลังการผ่าตัดน้อยและสามารถเก็บรักษามดลูกได้ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
        - ระยะในการฟื้นตัวสั้น สามารถไปทำงานได้ใน 1 สัปดาห์

          Leave a Reply

          Your email address will not be published. Required fields are marked *