การหายใจเข้า-ออกยาวๆลึกๆ
จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และให้ผู้ป่วยทำให้ได้ก่อนผ่าตัด ทั้งการหายใจลึกๆ การหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยขยายถุงลมเล็กๆในปอดและป้องกันการเกิดปอดอักเสบ และถุงลมแฟบผ่าตัดและช่วยการขับสารที่ใช้ในการดมยาสลบออกจากร่างกายได้เร็ว การสาธิตวิธีหายใจลึกๆ ที่ถูกต้อง ได้แก่ การหายใจ เข้าทางจมูกช้าๆ จนหน้าท้องตึงและหายใจออกช้าๆทางปาก สาธิตให้ผู้ป่วยดูและให้ปฎิบัติตามเพื่อให้แน่ใจว่าปฎิบัติถูกต้องและแนะนำให้ผู้ป่วยปฎิบัติบ่อยๆเท่าที่จะทำได้อย่างน้อย 5-10 ครั้งทุกชั่วโมง ในระยะหลังผ่าตัดที่ยังไม่ลุกจากเตียง 1. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงที่ข้างเตียง หรือช่วยจับผู้ป่วยให้อยู่ในท่า Semi-Fowlrr’s Position 2. ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ท้องจะได้รู้สึกเวลาหน้าอกขยายจะบ่งชี้ว่าปอดขยายตัว 3. ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าทางจมูกจนรู้สึกว่าหน้าท้องขยาย 4. ให้ผู้ป่วยหายใจออกทางปากขณะกล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว 5. ให้ทำแบบนี้ซ้ำทุกชั่วโมงในวันหลังผ่าตัด 5-10 ครั้ง
การฝึกไอ
การไอช่วยให้เสมหะที่ติดค้างอยู่ในท่อหลอดลม ทางเดินหายใจใหญ่ออกมาภายนอกการไอ อาจทำให้ปวดแผลอาจต้องใช้ยาระงับปวด การฝึกไอ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือนอนสอนให้ผู้ป่วยประคองแผลที่ผาตัดเพื่อลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะไอ การประคองแผลให้กางมือกดให้แน่นรอบบริเวณแผลก่อนไอ หรือใช้หมอนใบเล็กผ้าเซ็ดตัวม้วนประคองแผลแทน แนะนำให้หายใจลึกๆ และหายใจออกทางปากก่อนไอ 3 ครั้งจะช่วยกระตุ้นปฎิกิริยาการไอ และเอาเสมหะที่ตกค้างออกมา
การพลิกตัว (Turning Exercise)
ให้ผู้ป่วยหัดพลิกตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งโดยใช้ไม้กั้นเตียงช่วยในการพลิกตัว การพลิกตัวช่วยป้องกันการคั่งของเลือดดำ (Venous Stasis) หลอดเลือดดำอุดตัน (Thtombophiebitis) แผลกดทับและอาการแทรกซ้อนในระบบหายใจ แนะนำให้พลิกตัวและเปลี่ยนท่านอนบนเตียงทุก 1-2 ชั่วโมงในระยะหลังผ่าตัดการลุกจาก (Embulation)
ให้ลุกเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายใต้คำสั่งแพทย์ (ถ้าได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธี Block หลัง ควรนอนราบอย่างน้อย 12 ชั่วโมงแล้วจึกงลุกจากเตียง) เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหลายอย่าง ให้นอนตะแคงก่อนลุกนั่ง ใช้แขนช่วยลดความตึงของช่องท้อง แนะนำให้ลุกช้าๆ และหยุดพักก่อนยืน ใช้การประคองบริเวณแผลเช่นเดียวกับการไอ และหายใจลึกๆ เพื่อนลดความเจ็บป่วยเมื่อยืนหรือนั่ง