การคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุของการตายของมารดแรกเกิดที่พบบ่อย พบอัตราของทารกก่อนกำหนด 0.49 คน ต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน (ข้อมูล รพ. รามาธิบดี พ.ศ. 2540 – 2548 ) และการดูแลทารกน้ำหนักน้อยต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงซึ่งเป็นภาวะเศรษฐกิจต่อครอบครัว สังคมและระบบสาธารณสุขของประเทศการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หมายถึง การเจ็บครรภ์ที่มีการหดรัดของมดลูก อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ทำเกิดการบางตัวลง และ การขยายตัวของปาดมดลูก ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์

การคลอดก่อนกำหนด

หมายถึง กรกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (259 วัน) ของการตั้งครรภ์ ความสมบูรณ์ของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่เมื่อคลอด การคลอดด้วยอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์อาจเสียชีวิต การคลอดการกที่อายุครรภ์น้อยๆ การกมีโอกาสรอดชีวัตแต่อาจมีปัญหาเรื่องการหายใจและจำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นปอดให้ขยาย จึงสาบารถช่วยเรื่องการหายใจของการกได้

อุบัติการณ์

ประเทศพัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนดพบได้ 5 – 10%. ของการคลอด ส่วนการคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำคร่ำแตกพบได้เพียง 12. ของผู้ตั้งครรภ์ทั้งหมด

ระบาดวิทยา

การคลอดก่อนกำหนดแบ่งเป็น 4 ชนิด

  1. การคลอดก่อนกำหนดเมื่อมีข้อบกพร่อง เช่น ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  2. การคลอดก่อนกำหนดมีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน เช่น รกลอก
  3. ตัวก่อนกำหนดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  4. การคลอดเองก่อนกำหนด

การวินิจฉัย

ACO ได้เสนอกฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยการเจ็บครรภ์ ก่อนกำหนดในปี 2540 ดังนี้

1. การหดรัดตัวของมดลูกสม่ำเสมอ 4 ครั้ง ใน 20 นาทีหรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก

2. ปากมดลูกเปิดมากกว่า หรือ เท่ากับ 1 ซ.ม.

3. ปากมดลูกบางตัวลดลงมากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 80 และการเปิดขยายของปากมดลูกโดยแพทย์จะทำการตรวจครรภ์ ตรวจการบีบตัวขยายของบดลูก การตรวจอัลตราชาวด์ดูอายุและน้ำหนักของหารถ ตรวจภายในดูการขยายตัวของมดลูก

ปัจจัยเสี่ยง

1. มารดา

1.1 อายุ (อายุน้อยกว่า 20 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ย)

1.2 ฐานะทบสังคมและเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ทำบานหนักและรับประกานอาหารไม่เพียงพอ ไม่มีประโยชน์

1.3 ครรภ์แรก

1.4 การสูบบุหรี่ และสั่งเสพติดอื่นๆ เช่น โคเคน เฮโรอีน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดรกเกาะตำและน้ำเดินก่อนกำหนด

1.5 น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 50 กิโลกรัม และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า0.24 กก./สัปดาห์

1.6 การทำงานหนัก , พักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น ยืนทั้งวัน

1.7 ภาวะเครียด มีผลต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้

1.8 ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม มีประวัติครอบครัวคลอดก่อนกำหนด

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่หักโหมเชื่อว่าลดโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ แต่การออกกำลังกายอย่างหักโหมระยะไตรมาสที่ 3 มีโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้

2.ประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอด

            2.1 การแท้ง การคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนโดยเฉพาะการแท้งในไตรมาสที่ 2

            2.2 การมีเลือดออกในระหว่างการตั้งครรภ์ในอดีต โดยเฉพาะประวัติการมีรดลอกตัวก่อนกำหนดคลอด

3.การตั้งครรภ์มีปัจจุบัน

            3.1 ครรภ์แฝด ซึ่งพบได้ 2% ของการคลอดทั้งหมด และ 50% ของครรภ์แฝดจะคลอดก่อนกำหนด

            3.2 การช่วยเจริญพันธ์

            3.3 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

            3.4 ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

            3.5 ภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งคุกคามในระหว่างไตรมาส 1 และ 2 พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่าต่อภาวะนี้

            3.6 ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ

            3.7 ทารกพิการ เช่น ความพิการที่ไต ผนังหน้าท้องผิดปกติพบว่ามีโอกาสเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น

            3.8 ปากมดลูกผิดปกติ

4.การติดเชื้อของระบบสืบพันธ์

            4.1 หนองใน

            4.2 หนองในเทียม

            4.3 Bacterial เช่น Ureaplasma

            4.5 Beta – heamolytic Streptococci

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

  1. ไปตรวจครรภ์ตามนัดเป็นระยะๆ
  2. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับงานที่ทำและผลกระทบอื่นๆ
  3. พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
  4. หาวิธีจดจำการบีบตัวของมดลูกจากการใช้มือสัมผัสความสม่ำเสมอจากการบีบตัว
  5. ระวังการกระตุ้นที่บริเวณหัวนม เนื่องจากสาเหตุให้มดลูกบีบตัว
  6. ระวังการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบรัดตัว

ดังนั้นเมื่อทราบความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ถ้าท่ามีอาการดังต่อไปนี้ ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ จะป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ก็ได้ คือ

  1. ปวดท้อง
  2. มีมูก
  3. มีน้ำเดิน ลักษณะ เหมือนปัสสาวะออกทางช่องคลอด
  4. ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หรือ จุกเสียดยอดอด
  5. มีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง
  6. เด็กดิ้นน้อยลง
  7. ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันช่องคลอด
  8. มีการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ น้อยกว่า 10 นาที ต่อครั้ง
  9. บวมมากทั้งตัว

การรักษา

ผู้ป่วยต้องได้รับการนอนพักในโรงพยาบาล แพทย์จะทำการยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด หรือดำเนินการคลอดที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของการ สุขภาพของมารดาและการกศักยภาพของ Intensive Care Nursery ที่สามารถดูแลการถคลอดก่อนกำหนดภาวะติดเชื้อของมารดาและการก การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกและการแตกของถุงน้ำคร่ำ

การยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด

1. พักรักษาตัวในโรงพยาบาล และตรวจดูการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง

2. นอนบนเตียงตลอดเวลา เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อของมดลูกและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

3. ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ เพื่อให้ยาทางเส้นเลือดที่จะช่วยลดการบีบตัวของมดลูก

4. ตรวจเลือด ปัสสาวะ และมูกจากปากมดลูกเพื่อตรวจการติดเชื้อ

5. ทำอัลตราชาวด์ เพื่อตรวจอายุครรภ์ สุขภาพของการก และตรวจความผิดปกติของการถและทำของทารก

6. ตรวจน้ำคร่ำเพื่อตรวจการติดเชื้อและประเมินความสมบูรณ์ปอดของทารก

แพทย์จะไม่ให้ยาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในกรณี

  1. มีเลือดออกมากทางช่องคลอด
  2. มีความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
  3. มีการติดเชื้อในมดลูก
  4. เด็กมีความผิดปกติหรือตายแล้ว
  5. สภาวะอื่นๆ ที่การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้