ทำอย่างไรเมื่อเด็กชักจากไข้

อาการ

ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ชักแบบเกร็ง หรือกระตุกทั้งตัว เป็นระยะส้นๆไม่เกิน 15 นาที หลังชักจะตื่นเป็นปกติดีภายใน 1 ชั่วโมง มีเพียง 10-16% ที่จะเป็นการชักแบบซับซ้อนซึ่งจะชักเป็นบางส่วนของร่างกาย หรือชักนานเกิน15 นที หรือชักช้ำภายใน 24 ชั่วโมงอาจมีประวัติชัก หลังมีไข้เกิน 24 ชั่วโมง เด็กอาจจะกลับมาเป็นปกติหลังชักนานกว่า 1 ชั่วโมง

เด็กชักจากไข้ (Febrile convulsion)

พบในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ประมาณ 3-5% อายุที่ซักครั้งแรกผมบ่อยที่สุด ในช่วงวัน 1-3 ปี ไม่มีผลต่อพัฒนาการหากไม่มีปัญหาด้านสมองมาก่อน

สาเหตุ

อาการชักจากไข้ เชื่อว่าเกิดจากใช้สูง หรือสารเคมีที่เกิดขึ้นจากการติดซื้อไปกระตุ้นเชลล์สมองเด็กที่ยังเจริญไม่เต็มที่ และไวต่อสิ่งเร้า จึงสร้างสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติขึ้นชั่วคราว

ทำอย่างไรเมื่อเด็กมีไข้

ไข้ หมายถึง อุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่าปกติ โดยใช้ปรอทวัดไข้ที่รักแร้ 3-5 นาที วัดได้ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ38 องศาเซลเซียส

  1. หากมีประวัติชักจากไข้ ควรมีปรอทวัดไข้และมียาลดไข้ที่บ้าน
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำปกติ (ประปา) หากหนาวสั่นให้เพิ่มอุณหภูมิน้ำ (29-32 *c) เช็ดซอกคอ ข้อพับแขน และขา เมื่อน้ำระเหยจะถึงความร้อนของร่างกายได้ดี
  3. อาจให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน ก่อนเช็ดตัว เพราะยาจะออกฤทธิ์ ลดไข่ใน 1-2 ชั่วโมง หรืออาจเช็ดตัวก่อน ทานยาลดไข้ เพราะเด็กจะทานยาได้ง่ายขึ้นเมื่อไข้ลดลงบ้าง (ถ้าสงสัยว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกให้หลีกเสี่ยงไอบูโพรเฟน)
  4. อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ไม่ร้อนกินไป สวมเสื้อผ้าพอสบายไม่หนาหรือบางเกินไป
  5. รับประทานอาหารเหลว หรือจับน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาระขาดน้ำซึ่งอาจทำให้ไข้สูงขึ้น

การปฏิบัติเมื่อเด็กชักจากไข้

  1. สงบ ไม่ตกใจ อยู่กับเด็กตลอด
  2. สังเกตลักษณะการชักกระตุก หรือเกร็ง ชักทั้งตัวหรือเฉพาะบางส่วน รวมทั้งดูเวลาเริ่มซักและหยุดชัก
  3. จับนอนที่พื้น ไม่ต้องเคลื่อนย้าย ยกเว้นอาจเป็นอันตรายเช่น ใกล้สระน้ำ เป็นต้น

ㆍ เอาวัตถุแข็ง มีเหลี่ยมคมออกไกลตัว ไม่ต้องจับยึดให้หยุดชัก

ㆍ ห้ามสอดวัตถุใดๆในปาก หากมีอาหาร หรือวัตถุในปากให้ล้วงออกโดยเร็ว

  • นอนตะแคงศีรษะชิดพื้นไม่ก้มคอ เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ไม่สำลักเสมหะ รอจนหยุดซัก ซึ่งใช้เวลาไม่กี่นาที
  • เมื่อหยุดชักให้เช็ดตัวลดไข้ และทานยาลดไข้ (ถ้ามี) แล้วพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้ ว่าไม่มีสาตุจากการติดเชื้อในระบบประสาท หรือมีการติดเชื้อที่อันตรายที่ยังไม่แสดงอาการซัดจน เช่น
    การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ เป็นต้น

การพยากรณ์โรค

  1. หากเป็นการชักจากไข้ 70 % จะไม่ชักอีก หากชักซ้ำจะเกิดภายใน 6 เดือน – 1 ปี มีเพียงแค่ 10 % ที่ชักซ้ำรวม 3 ครั้ง
  2. หากชักแบบซับซ้อนมีโอกาสเป็นลมชัก เพิ่มขึ้น 20 % จากคนทั่วไปเท่านั้น ถ้าไม่มีความผิดปกติของสมองอยู่ก่อน
  3. ปัจจัยที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสชักซ้ำ เมื่อมีไข้ในครั้งต่อไป
  • มีประวัติชักจากไข้ในครอบครัว
  • ชักครั้งแรกก่อนอายุ 15-18 เดือน
  • ช่วงระยะเวลามีไข้ก่อนที่จะชักน้อยกว่า 1 ชั่วโมง หรือขณะที่มีไข้สูง

4. ไม่ต้องให้ยากันชักต่อเนื่อง แพทย์อาจพิจาณาให้ยากันชักเป็นครั้งคราว ในบางรายที่มีการชักแบบซับซ้อน

หมายเหตุ

  1. เด็กที่ชักจากไข้ (หากไม่มีปัญหาด้านสมองอยู่ก่อน) จะมีพัฒนาการ และสติปัญญาปกติ และไม่เปลี่ยนเป็นโรคลมซัก
  2. แม้จะเช็ดตัว ทานยาลดไข้แล้ว ก็ยังสามารถชักได้
  3. หลังซักควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการซักจากไข้เสมอ