มะเร็งเต้านม

สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม คืออะไร?

  • ปกติเซลล์ของต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษอาหารการกินและความเครียด อาจมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (ยีนส์) ของเซลล์ ซึ่งอาจพัฒนาเติบโตขึ้นกลายเป็นก้อนมะเร็งของต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนมได้
  • ผู้ป่วยบางรายมียีนส์ที่ก่อมะเร็งอยู่ในร่างกายมาแต่กำเนิด โดยอาจถ่ายทอดมาจากมารดาซึ่งเป็นมะเร็ง เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ยีนส์ชนิดนี้เริ่มทำงานก็จะทำให้เกิดมะเร็งของเต้านมเช่นกัน

มะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร ?

  • ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลำพบก้อนผิดปกติที่บริเวณเต้านม ก้อนดังกล่าวมักไม่ค่อยเจ็บและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง มีขอบเขตไม่ชัดเจน ถ้าก้อนดังกล่าวเป็นนานมากขึ้นอาจมีรอยบุ๋ม หรือ ผิวหนังบริเวณก้อนหนาตัวขึ้นเหมือนผิวส้มโอ ในบางรายพบก้อนเล็กเป็นแผลออกมาภายได้ยอก
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังบริเวณรอบๆหัวนม

อะไรทำให้แพทย์สงสัย… ว่าผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งเต้านม?

  • จากประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมของญาติพี่น้องสายตรง เช่น แม่,ยาย,พี่น้อง ของผู้ป่วย
  • จากการตรวจเต้านมพบก้อนในลักษณะดังกล่าวข้างต้นและอาจพบต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โตได้ด้วย
  • การทำเอ็กซ์เรย์เต้านม ( Mammogram ) พบก้อนขอบเขตไม่เรียบ และอาจะมีหินปูนเกาะลักษณะเป็นฝอยๆ และอยู่เป็นกลุ่ม
  • การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ของเต้านมพบก้อนที่มีเนื้อไม่สม่ำเสมอ และขอบเขตไม่ชัดเจน

เมื่อตรวจพบดังกล่าวแล้วแพทย์จะทำอย่างไรต่อไป ?

          เมื่อแพทย์ตรวจพบก้อนเนื้อที่เต้านมและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งแพทย์จะต้องยืนยันด้วยการนำเนื้อมาตรวจ ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี คือ

  • ใช้เข็มเล็กๆเจาะและดูดเอาเนื้อจากก้อนมาตรวจ
  • อาจใช้วิธีผ่าตัดเนื้อก้อนทั้งหมดมาตรวจ โดยวิธีแช่แข็ง ถ้าพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งก็ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาไปในคราวเดียวกันไปเลย

รักษามะเร็งเต้านมอย่างไร ?

  • การรักษามะเร็งเต้านมมักเริ่มดันด้วยการนำตัดซึ่งมีหลายแบบ เช่น การผ่าตัดเอาเค้านมทั้งเต้า และต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก หรือแพทย์บางท่านอาจเลือกวิธีผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งพร้อมทั้งเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก ซึ่งถ้าเป็นการผ่าตัดวินี้ผู้ป่วยทุกรายจะต้องรับการฉายรังสีรักษา ที่เนื้อเต้านมข้างที่ผ่าตัดเพื่อทำลายเชื้อมะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่
  • หลังผ่าตัดผู้ป่วยทุกราจะต้องได้รับการให้รับการรักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) เพื่อกำจัดเชื้อมะเร็งที่อาจกระจายไปอยู่ตามส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ในกรณีที่มีการกระจายของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองก็อาจต้องมีการฉายรังสีรักษาที่บริเวณรักแร้ร่วมด้วย

ใครมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมบ้าง ?

  • มีการพบว่าสตรีที่มีบุตรก่อนอายุ 24 ปี มีบุตรหลายคนและทุกคนได้ดื่มนมมารดา จะมีอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยลง
  • และที่มีการพบอีกเช่นกันว่าสตรีที่รับประทานไขมันจากสัตว์น้อย มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำจะพบการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าสตรีทั่วไป
  • มีรายงานว่าการรับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนจากพืช (Ptyruacstrogen) เช่น นมถั่วเหลือง, น้ำมะพร้าวอ่อน ฯลฯ ตั้งแต่เป็นเด็กวัยรุ่น
  • อาจช่วยลดอันตรายจากการเกิดมะเร็งเต้านมของสตรี ได้
  • ในทางตรงกันข้ามเราพบว่า สตรีที่อ้วน, มีบุตรคนแรกอยุมาก, มีบุตรน้อย, ไม่ให้ลูกดื่มนมแม่, สตรีที่สูบบุหรี่,
    ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะพบอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป

การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ครั้งแรก

ถึงแม้มะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ถ้ามีการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มดัน ผลการรักมาก็ค่อนข้างดี ดังนั้นสตรีทุกท่านควรต้องรู้วิธีการในการตรวจหามะเร็งเต้านม ดังนี้

  1. การตรวจมะเร็งเต้านมตนเอง ซึ่งควรทำเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ I ครั้ง
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์
  3. การตรวจเอ็กซเรย์เต้านม (Mammogram)
  4. การตรวจเด้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)