มารู้จักโรค SLE กันเถอะ SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS

ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงอายุระหว่าง 20-45 ปี  โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9-10 เท่า พบได้ในทุกเชื้อชาติ

สาเหตุ

ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค SLE แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าน่าจะเกิดจาก

  • กรรมพันธุ์
  • ฮอร์โมนเพศหญิง
  • ภาวะติดเชื้อบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอย่างอื่นที่อาจกระตุ้นโรค เช่น แสงแดด การตั้งครรภ์ ยาบางชนิด

อาการ

            อาจมีอาการแสดงอกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆกัน หรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ อาการทั่วไป มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ อาการทางผิวหนัง ผื่นที่มีลักษณะเฉพาะคือ ผื่นแดงบริเวณใบหน้า ตั้งแต่บริเวณสันจมูกไปถึงที่โหนกแก้มทั้งสองข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ (butterfly rash) อาจคันหรือไม่คันก็ได้

  • ผม ผมร่วง อาจเป็นหย่อมๆ หรือทั้งศีรษะ (แล้วแต่ความรุนแรงของโรค) เป็นอาการที่พบบ่อยในขณะที่เป็นโรครุนแรง
  • อาการทางระบบประสาท มีการอักเสบของสมอง บางรายมีอาการชัก บางรายมีอาการพูดเพ้อเจ้อ เอะอะโวยวาย คลุ้มคลั่งคล้ายคนโรคจิต จำญาติพี่น้องไม่ได้
  • อาการทางไต ผู้ป่วยที่มีไตอักเสบ จะมีอาการบวมบริเวณที่เท้าสองข้าง หน้า หนังตา หรือบวมทั้งตัว ในร่างที่มีอาการรุนแรง อาจมีความดันโลหิตสูง ปัสสาวะออกน้อยลง หรือมีปัสสาวะเป็นฟอง ในรายรุนแรงมากอาจถึงขั้นมีไตวาย
  • อาการทางหัวใจและหลอดเลือด มีอาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยอาจมีการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ บางครั้งอาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • อาการทางระบบโลหิต พบอาการโลหิตเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ เกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ จาง ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เลือดออกได้ง่าย
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ผิดปกติ บางครั้งมีตับอ่อนอักเสบร่วมด้วย
  • อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาจจะเป็นปวดข้อนิ้วมือ ข้อไหล่ ข้อเข่าหรือข้อเท้า มักมีอาการบวมแดงร้อนร่วมด้วย
  • อาการทางผิวหนัง มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ผื่นที่มีลักษณะเฉพาะคือ ผื่นแดงบริเวณใบหน้า ตั้งแต่บริเวณสันจมูกไปถึงที่โหนกแก้มทั้งสองข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ (butterfly rash) อาจคันหรือไม่คันก็ได้

เมื่อไหร่ควรสงสัยว่าเป็นโรค SLE

  1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุนานเป็นเดือน
  2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อเรื้อรัง
  3. เมื่อมีพื้นแพ้แสง โดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด (ผื่นผีเสื้อ)
  4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้นผิดปกติ,ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้า ตามเท้า

การป้องกัน

            เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การป้องกันไม่ให้เกิดโรค SLE ในขณะนี้ยังไม่มี หากท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยเสียแต่ในระยะแรก และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง