อาหารสำหรับ…ผู้สูงอายุ

วัยสูงอายุ..ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจสภาพร่างกายเสื่อมลงตามอายุขัย แต่บางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนวัยอันควร เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายวัยสูงอายุมีความต้องการเช่นเดียวกับวัยอื่นๆแต่ต่างกันในลักษณะ และปริมานความต้องการอาหารที่ให้พลังงานน้อยลง

การดัดแปลงอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ดัดแปลงลักษณะอาหาร

ความเปลี่ยนแปลงของฟัน ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามรถเคี้ยวอาหารได้ แม้จะมีการใส่ฟันปลอมแล้วก็ตามจึงต้องทำอาหารให้มีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวได้ง่าย หั่นเล็กๆ หรือบดละเอียด

  • ดัดแปลงในด้านรสชาติ

อาหารไทยมีหลายรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด มัน และขม ผู้สูงอายุต่อมรับรสจะเปลี่ยนแปลงจึงต้องตัดแปลงอาหารให้เป็นไปตามนั้นด้วย ไม่จัดอาหารที่มีรสจัดหรือเครื่องเทศมาก จะเกิดปัญหากับการขับถ่าย

  • ดัดแปลงด้านปริมาณ

ป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม กรณีที่ทานได้น้อยอาจแบ่งเป็นหลายๆ มื้อ ปริมาณไม่มากนักจะช่วยให้รับประทานได้ดีขึ้น

หลักในการจัดอาหารสำหรับ..ผู้สูงอายุ

  • ปริมาณของอาหารที่จัดไม่มากกินไปสามารถแบ่งย่อยเป็นมื้อเล็กๆ 4-5 มื้อ เพื่อลดปัญหาการแน่นท้อง
  • อุณหภูมิของอาหาร อาหารร้อนทำให้น่ารับประทานและมีรสชาติดีกว่า
  • บรรยากาศในการรับประทานอาหาร การมีลูกหลานนั่งเป็นเพื่อน ย่อมทำให้ บรรยากาศในการรับประทานอาหร อบอุ่นไม่เงียบเหงา อาจรับประทานอาหารนอกบ้านบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
  • พยายามหลีกเสี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สหรือท้องอึด เช่น ถั่วบางประเภท
  • เลือกอาหารที่มีคุณภาพและเน้นวิธีการนึ่งมากกว่าทอด

อาหารที่ผู้สูงอายุไม่ควรกิน

  • อาหารจำพวก แป้ง ข้าว น้ำตาล ควรกินให้น้อยลงเพราะจะทำให้อ้วนไม่ควรกินข้าวที่ขัดสีจนขาวไป และข้าวที่นำมาปูระกอบอาหารที่เพิ่มกะกิและไขมัน เช่น ข้าวขาหมูข้าวมันไก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ
  • อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ไม่ควรกิน เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ต่างๆ เช่นหนังไก่ทอด ขาหมู ไข่แดง หมูสามชัน
  • อาหารจำพวกไขมันสูงสุด ได้แก่ น้ำมันหมู ของทอดต่างๆ เช่น กล้วยทอดปาท่องโก๋ ขนมใส่กะทิ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ละมุดกล้วยหอม ลำไย ขนุน

อาหารหลัก 5 หมู่ สำหรับผู้สูงอายุ

หมู่ที่ 1 อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ ถั่ว

          เนื้อสัตว์ : ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ เนื้อปลา แต่ควรเลือกก้างออกให้หมด หากเป็นสัตว์ชนิดอื่นควรสับให้ละเอียดเพื่อความสะดวกต่อการเคี้ยว

ไข่: สัปดาห์ละ 3 ฟอง ส่วนไข่ขาวกินไม่ได้จำกัดจำนวน เพราะไข่ขาวไม่มีไขมัน

นม: ควรดื่มประมาณวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้ที่ทานแล้วทำให้ท้องเสียอาจเปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองแทนได้

หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือกและมัน

            เป็นอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะสะสมในสภาพของไขมันผู้สูงอายุควรกินในปริมาณที่พอเหมาะเช่น ข้าวมื้อละ 1 จาน (ปริมาณ 2 ทัพพี) ควรลดปริมาณการกินอาหารหมู่นี้เพราะความต้องการกำลังงานในผู้สูงอายุลดลง หากกินนมมากจะทำให้อ้วนและน้ำตาลในเลือดสูง

หมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและผักอื่นๆ

            ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง คะน้า ตำลึงและผักที่มีสีเหลืองหรือสีแดงจะให้สารอาหารพวกวิตมินและเกลือแร่ มีความสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายเป็นปกติมีใยอาหารเช่นในการขับถ่ายทำให้ร่างกายแข็งแรง ท้องไม่ผูกและไม่อ้วน

หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ

               ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุได้แก่ ผลไม้สุกเนื้อแน่นนุ่น เคี้ยวง่ายทุกชนิด ยกเว้นผลไม้ที่มีรสหวายจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า เพราะจะทำให้อ้วนและระดับน้ำตาลในเลือดสูง

หมู่ที่ 5 ไขมัน

               แบ่งออกเป็นไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว

               ไขมันอิ่มตัว : เช่นไขมันจากสัตว์จากน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว

               ไขมันไม่อิ่มตัว : เช่น น้ำมันลำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก

หลักการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุเพื่อการมีสุขภาพดี 10 อ.

1.  อาหาร : กินอาหารให้หลากหลาย ได้สัดส่วนเพียงพออิ่ม

2. อากาศ : ทรัพยากรธรรมชาติ นำพาอากาศบริสุทธิ์

3. ออกกำลังกาย : ออกกำลังกายทุกส่วน กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ

4. อุจจาระ : ขับถ่ายอุจจาระทุกวัน สำคัญที่น้ำ ผัก ผล ไม้

5. อนามัย : อนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว

6. อุบัติเหตุ : ปลอดทุพพลภาพ ปลอดพิการ ปลอดการหกส้ม

7. อารมณ์ : อารมณ์รื่นเริงยืนดี ชีวิตสดใสด้วยรอยยิ้ม

8. อดิเรก : สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนค่าเกื้อกูลสังคม

9. อบอุ่น : สานสายใยความอบอุ่น ความร่มเย็น มีน้ำใจไมตรี

10. อนาคต : ความสุขที่แท้จริง คือการมีชีวิตอยู่กับความพอเพียง