เบาหวานและการออกกำลังกาย

ความถี่

            อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ และไม่ควรหยุดติดต่อกันเกิน 2 วัน

ชนิดของการออกกำลังกาย

  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือการออกกำลังกาย ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจ ได้แก่ การเดินเร็ว การวิ่ง การเต้นแอโรบิค การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน คือการเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรระวัง
  • การออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ คือการเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ลดการบาดเจ็บ

ระยะเวลา

  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค 150-300 / สัปดาห์ ในระดับปานกลาง
  • ออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ในระดับปานกลาง อย่างน้อย 2 วัน / สัปดาห์
  • ผู้สูงอายุควรออกกำลังในหลายรูปแบบสัมผัสกัน ทั้งการฝึกการทรงตัว การออกกำลังกายแบบแอโรบิค และการออกกำลังกายแบบแรงต้าน

ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ ในขณะที่ออกกำลังกายให้หยุดและนั่งพัก ในกรณีที่มีอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก ให้อมยาใต้ลิ้น จากนั้นรีบพบและปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อประเมินหาสาเหตุ และรักษาตามความเหมาะสม

อาการควรระวัง

  • แน่นหรือเจ็บหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • รู้สึกอ่อนแรงกว่าปกติ
  • รู้สึกไม่สบายหรือมีไข้
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เวียนศีรษะ มึนงง

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

  • กล้ามเนื้อแข็งแรงข้อต่อเคลื่อนไหวสะดวก ลดกระดูกพรุน
  • ลดไขมันสะสม เพิ่มไขมันดี ลดไขมันร้าย ลดโรคอ้วน
  • ลดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน
  • ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการตอบสนองของเซลล์กล้ามเนื้อต่ออินซูลิน
  • ลดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน
  • ลดและควบคุมความดันโลหิต
  • ผ่อนคลาย ลดเครียด อารมณ์แจ่มใส