โภชนาการ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

แม่ที่ให้นมบุตร ควรรับประทานอาหารเพื่อชดเชยปริมาณที่ออกไปกับน้ำนมที่ใช้เลี้ยงการก ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมโดยการเอาสารอาหารจากเลือดแม่มาสร้างเป็นน้ำนม น้ำนมจึงประกอบไปด้วย โปรตีน ไขมัน น้ำตาล แร่ราตุและวิตามิน ฉะนั้นจึงต้องได้รับการชดเชยการรับประทานอาหารที่เพียงพอ

สร้างความเข้าใจกันก่อน

แม้บางรายมีความเชื่อว่า เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นของแสลง จึงหันมาทานข้าวกับปลาแห้งหรือเกลือ เช่นนั้นจึงทำให้แม่ที่ให้นมบุตรขาดสารอาหาร ปริมาณน้ำนมแม่จะน้อยไม่เพียงพอสำหรับการก จะนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ และทานวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอ ยังเป็นการช่วยเพิ่มน้ำนมให้แม่ได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยในช่วง 6 เดือน หลังคลอดการกจะได้น้ำนมแม่เป็นหลัก การเจริญเติบโตในช่วงนี้จึงขึ้นอยู่กับน้ำนมแม่เป็นหลักถ้าภาวะโภชนาการแม่ดี ทั้งระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะมีปริมาณน้ำนมเพียงพอสำหรับการกไปจนถึง 6 เดือน คุณแม่ควรทานอาหารเพิ่มจากปกติ เพื่อไปชดเชยน้ำที่แม่ให้สู่ลูก คือ เนื้อสัตว์ 30 กรัมพัก 1 ทัพพี  นม 1 แก้ว  ผลไม้ 8 ขั้นคำ

อาหารหลัก 5 หมู่

  1. หมู่เนื้อสัตว์ (โปรตีน) ควรทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง-มัน เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ
  2. หมู่ข้าวแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ควรทานแต่พอเหมา: ประมาณ 8-10 ทัพพีต่อวัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของร่างกาย)
  3. หมู่ไขมัน ควรเลือกไขมันที่ทำจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน
  4. ผัก ควรทานพักครบทุกสี เช่น สีส้ม-แดง ได้จากแครอท มะเขือเทศ สีเขียวเข้ม-อ่อน จากผักใบทุกชนิดสีเหลือง จากฟักทอง
  5. ผลไม้ ทานผลไม้พอเหมาะ เนื่องจากผลไม้ให้พลังงาน ควรทานผลไม้หลากหลาย ครั้งละ 8 ขึ้นคำ
  6. น้ำ ควรดื่มน้ำวันละ 2,000 มล. หรือ 8-10 แก้ว

ของแสลงของมารดาให้นมแม่

  1. ยาดอง เพราะยาดองอาจมีสารบางชนิด เมื่อเข้าสู่ร่างกายลูก อาจทำให้เลือดออกง่าย บางรายอาจสังเกตเห็นเป็นจ้ำ ๆ หรืออาจเกิดการซักได้
  2. ไม่ควรเลือกซื้อยาทานเอง เพราะยาอาจจะไปปะปนกับน้ำนม อาจมีผลต่อบุตรได้
  3. คาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม
  4. อาหารหมักดองต่าง ๆ
  5. อาหารรสจัด

เคล็ดไม่ลับ

ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำนม คือ”ความบ่อยของการให้นมบุตร”และ “ปริมาณสารอาหารที่ให้นมบุตร”สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในระยะให้นมบุตร ควรได้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ อีก 500 กิโลแคลอรี่อาหารที่ให้พลังงานในระยะนี้ ควรมาจากคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่และมาจากไขมันเล็กน้อยควรหลีกเลี่ยงการทาน อาหารที่มีไขมันมากและพวกของหวานกะทิต่าง ๆเพราะอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้