ไขมันสูง…เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเชอไรด์ (Tiglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงเรียกว่า (Hyperipidemia) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  เส้นเลือดตีบอุดตัน  เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ  ของร่างกายไม่เพียงพอและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง

  1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง
  2. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานไต้น้อย โรคไต เป็นต้น
  3. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและเป็นประจำ
  4. การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ
  5.  การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่
  6. รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมาก
  7. รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน อมน้ำมัน

อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

อันตรายของโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เกิดจากการที่เส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์อันตรายของภาวะไขมันใน

  • ปวดท้อง ซึ่งในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นดับอ่อนอักเสบได้
  • ปื้นเหลืองบริเวณผิวหนังเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้จะมี

ลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้มีลักษณะสีแดง จะพบเมื่อไตรกลีเชอร์ไรด์สูงมาก โดยจุดที่เกิด เช่น หนังตา ข้อศอก เข่า ฝ่ามือ

  • ระบบประสาทมีการทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการเดินโซเซ และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
  • ปวดข้อ แขน ขา ตึง เหยียด ได้ไม่ถนัด
  • หลอดเลือดแดงเข็งมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดอัมพาตได้

ผู้ป่วยที่ควรตรวจหาภาวะไขมันในเลือดสูง

  • ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ในผู้ชาย และอายุ 55 ปี ในผู้หญิง
  • ผู้ที่มีประวัติของคนภายในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายก่อนอายุ 55 ปี ในผู้ชาย และ อายุ 65 ปี ในผู้หญิง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน

*** หมายเหตุ ถ้าผลปกติควรตรวจซ้ำทุก 1 – 3 ปี ***

การปฏิบัติตัวของผู้ที่มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

  1. เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

อาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแดงแห้ง

  • อาหารที่รับประทานได้ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น ปลา ออกไก่ หมูเนื้อแดง ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้
  • อาหารที่ควรลด เนื้อสัตว์ทุกชนิด เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์หมูสามชั้น อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก

ธัญพืช

  • อาหารที่รับประทานได้  ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ก๋วยเตี๋ยว มันชนิดต่างๆ
  • อาหารที่ควรลด ข้าวมันไก่ กล้วยทอด มันทอด เผือกทอด ปลาท่องโก๋ ข้าวเกรียบ

ผัก

  • อาหารที่รับประทานได้  ผักสด ผักต้ม หรือ ผักที่ทำให้สุก โดยไม่ใช่น้ำมัน ถั่วลั่นเตา
    ข้าวโพดอ่อน
  • อาหารที่ควรลด ผักที่ทำให้สุกโดยใช้น้ำมัน เช่น ผักทอด ผักผัดน้ำมัน ผักราดกะทิ

ผลไม้

  • อาหารที่รับประทานได้  ผลไม้สด เช่น ส้มเขียวหวาน กล้วย ส้มโอ ฝรั่ง มะม่วง แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ผลไม้แห้ง เช่นลูก พรุน
  • อาหารที่ควรลด อะโวคาโด

            ไซมัน

  • อาหารที่รับประทานได้  โซมันจากพืช เช่น น้ำมันเมล็ด ทานตะวัน น้ำมันเงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันสลัด ที่ทำจากน้ำมันพืช ในปริมาณจำกัด
  • อาหารที่ควรลด ไขมันสัตว์ เช่น แคบหมู น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว

            เบ็ดเตล็ด

  • อาหารที่รับประทานได้   วุ้นธรรมดา เยลลี่ ซุปใส (เอาไขมันออก) ซุปผัก
  • อาหารที่ควรลด ขนมเค้กชนิดต่างๆ คุกกี้ พาย ขนมหวานใส่กะทิ ขนมที่ทอดด้วยน้ำมัน ซุปอื่นๆ ช็อกโกแลต ทอฟฟี่ ลูกกวาด แกงกะทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
  • ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะตามนัด