รับประทานอย่างไร เมื่อไตเสื่อม

ความสำคัญของอาหารที่มีผลต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

การคุมอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะช่วยชะะลอความเสื่อมของไตได้ผลดีกว่าในระยะที่โรครุนแรงโดยรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ ซึ่งก็จะมีผลให้ของเสีย(เช่น ยูเรีย) มีปริมาณน้อยลงไตส่วนที่เหลือก็จะได้ทำงานเบาลง

1. พลังงาน

ความเพียงพอในด้านพลังงานนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ร่างกายได้รับพลังงานมาจากอาหารที่รับประทาน อาหารที่ให้พลังงานพอเพียงจะช่วยป้องกันภาวะทุพโภชนาการและช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีนที่ถูกจำกัดจากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพในคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมน้ำหนักที่เหมาะสมต่อวัน ส่วนผู้ป่วยที่อายุสูงกว่า60 ปี ควรได้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมน้ำหนักที่เหมาะสมต่อวัน

2. โปรตีน

โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย โปรตีนที่รับประทานเข้าไปนอกจากนำไปใช้แล้วยังก่อให้เกิดของเสีย หรือขยะตามมาด้วยซึ่งไตจะทำหน้าที่ในการขจัดของเสียที่เกิดขึ้นถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไป ก็จะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีไตเสื่อมก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ในทางกลับกันถ้ารับประทานน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคเรื้อรังควรได้รับอาหารโปรตีนต่ำ เพื่อชะลอการเสื่อมของไต

3. ไขมัน

ไขมัน เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ให้พลังงานสูง ไขมันจากอาหารมีทั้งชนิดที่ดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัว(น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว) และไขมันไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัว (น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมูน้ำมันมะพร้าว กะทิ ไขมันวัว เนย ชีส หมูสามชั้น) ถ้ารับประทานไขมันชนิดไม่ดีมากเกินจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจตามมาได้

อาหารไขมันสูงที่ควรหลีกเลี่ยง น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้นหนังหมู หนังไก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก ปู กุ้ง หอยนางรม เนย

4. โซเดียม

โซเดียม การควบคุมอาหารเค็มเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (เสื่อม) ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการบวมควรจำกัดปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เทคนิคการควบคุมอาหารเค็ม ได้แก่ให้คนทำอาหารลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง

หลีกเสี่ยงการซื้ออาหารปรงสำเร็จรับประทาน ลดการเติมน้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ลงไปในอาหาร ท่านสามารถเพิ่มรสเผ็ดหรือเปรี้ยวมาแทนรสเค็มที่หายไปได้ ไม่ควรใช้เกลือ ซีอิ้ว น้ำปลา สูตรโซเดียมต่ำเนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นเกลือโปแตสเซียม ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้

5. โปแตสเซียม

แร่ราตุที่สำคัญที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจเมื่อมีไตเสื่อมการขับโปแตสเซียมจะลดน้อยลง ระดับโปแตสเซียมในเลือดควรน้อยกว่า 5 มิลลิโมลาร์ต่อลิตรถ้าระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงมากเกินไปอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้ ด้งนั้นในผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมระยะที่ 4 – 5 หรือระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง

6. ฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟต

เป็นแร่ราตุที่สำคัญที่มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก ไตที่ปกติจะขับฟอสฟอรัสออกได้ แต่เมื่อไตเสื่อมการขับฟอสฟอรัสจะน้อยลงทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น เมื่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้นจะทำให้ระดับ
แคลเซียมในเลือดต่ำลงและแคลเซียมถูกดึงออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกไม่แข็งแรงนอกจากนั้นฟอสฟอรัสจะจับกับแคลเซียมที่อยู่ในเลือดเกิดเป็นหินปูนอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ข้อ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจตามมา

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แห่ ผม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย เค้ก คุ้กกี้ ขนมปัง ไอศกรีม กาแฟผง ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ถั่วเหลือง โอวันติน ไมโล โกโก้ โคล่า เป๊ปซี่ กาแฟใส่นม เบียร์ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ข้าวโพด งา ทองหยิบ ทองหยอด ไข่แดง เมล็ดพืช แมลงทอดต่างๆ เป็นต้น