ต้อลม ต้อเนื้อ

ต้อลม ต้อเนื้อโรคตาที่ไม่ควรมองข้าม

  • ต้อลม (pinguecula) ส่วนของเยื่อบุตาขาวเกิดการเสื่อมและหนาตัวขึ้น มองเห็นเป็นนูนสีขาวปนเหลืองอยู่ตรงตาขาวชิดตาดำ มักพบทางด้านหัวตามากกว่าหางตา บางครั้งเกิดได้ทั้ง 2 บริเวณ
  • ต้อเนื้อ (pterygium) ต้อลมที่ขยายตัวใหญ่และหนาขึ้น จนลามเข้าไปในกระจกตาดำ มีลักษณะรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีฐานอยู่ที่ตาขาว และยอดแหลมยื่นเข้าไปในกระจกตาดำ พบที่บริเวณตัวตาบ่อยกว่าบริเวณหางตา

สาเหตุ

  • ระคายเคืองโดยฝุ่น ลม ควัน รวมทั้งรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด
  • มีอาการอักเสบของเยื่อบุตาแบบเรื้อรัง

อาการ

  • ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอาการต้อลมอักเสบ ตาจะแดงช้ำบริเวณรอบต้อ ผู้ป่วยจะรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีผงเข้าตา ต้อลมและต้อเนื้อไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง หากเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ตาเกิดการอักเสบได้มากกว่าปกติ แต่ไม่ควรให้ต้อเนื้อลามมาถึงจุดศูนย์กลางของกระจกตาดำ เพราะจะทำให้ตามัวจนมองไม่เห็นไม่ชัด

การรักษา

  • ถ้าเป็นน้อยใช้น้ำตาเทียมลดอาการเคืองตา
  • หากเกิดอาการอักเสบ จักษุแพทย์รักษาโดยให้ยาหยอดตา เพื่อลดการอักเสบ แต่เนื้อนูนที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ค่อยหายด้วยยา
  • แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดลอดต้อเนื้อ เมื่อต้อเนื้อมีขนาดใหญ่จนเห็นได้ชัดหรือทำให้เกิดสายตาเอียงหรือต้องที่อักเสบบ่อยๆ

ข้อแนะนำหลังการลอดต้อเนื้อ

  • ปิดตาข้างที่ลอกต้อเนื้อด้วยพลาสเตอร์แน่นเป็นเวลา1-2 วัน และห้ามแกะออก ระยะนี้ยังไม่ต้องหยอดยา ยาที่ให้ไปนั้นเป็นการให้ไปล่วงหน้า จะเริ่มใช้เมื่อเปิดตาแล้วเท่านั้น
  • ระมัดระวังไม่ให้ผ้าปิดตาเปียกน้ำ ใช้วิธีเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • พบจักษุแพทย์ตามนัด ถ้าแพทย์สั่งให้เปิดตาเองที่บ้านและเริ่มหยดตาตามเวลา
  • ข้อควรระมัดระวังในการใช้ยาหยอดตา ให้หยอดตาและหยุดยาตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด ห้ามนำตัวอย่างยาไปซื้อมาใช้เอง โดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์ “มิฉะนั้นอาจเป็นโรคต้อหินโดยไม่รู้ตัว”
  • สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงฝุ่น ลม แดด ควัน ไม่ให้เข้าตา โดยการสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน ป้องกันสิ่งที่กระตุ้นดังกล่าวอันเป็นสาเหตุให้เกิดต้อเนื้อได้อีก