ภาวะอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของวัยทอง

วัยหมดระดู หรือวัยทอง คือ ภาวะสั้นสุดของการมีระดูอย่างถาวร เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานจะหมดความสามารถในการเจริญพันธุ์ และการสร้างฮอร์โมนเพศลดลง อายุเฉลี่ยของสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดูจะอยู่ระหว่างช่วงอายุ 50-52 ปี

ระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่วัยหมดระดู แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

1. วัยใกล้หมดระดู ( Perimenopause ) เป็นระยะเวลาที่รังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติจนหยุดทำหน้าที่ไปจะมีระยะเวลา 2- 8 ปี

2. วัยหมดระดู ( Menopause ) หมายถึง ช่วงเวลาของการสั้นสุดการมีระดูอย่างถาวร เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานระยะเวลา 1 ปี

3 วัยหลังหมดระดู ( Postmenopause ) หมายถึง ระยะเวลาหลังหมดระดู

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และพยาธิสรีรวิทยาในวัยหมดระดู

1. การเปลี่ยนแปลงของระบบ Vasomotor

เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกท่วมตัว เป็นความรู้สึกร้อนทางผิวหนัง

2. การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ และทางเดินปัสสาวะ

  • ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ปากช่องคลอดมีการฝ่อลีบบางลง ช่องคลอดแห้งไม่สามารถสร้างสารคัดหลั่งเพียงพอ ผนังจะบางลง, ซีด บดลูกมีการฝ่อลีบลงและหย่อนตัวของมดลูก
  • ผลต่อทางเดินปัสสาวะ การกล้นและการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ, มีโอกาสตัดเชื้อ ได้ง่ายขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์

  • พบอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ

4. การเปลี่ยนแปลงและปัญหาทางเพศ

  • มีการลดลงต่อการกระตุ้นทางเพศ, หมดความต้องการทางเพศ, การตอบสนองทางเพศลดลง

5. การเปลี่ยนแปลงของกระดูก

  • มวลกระดูกจะสูงสุด เมื่ออายุ 30 – 34 ปี หลังจากหมดระดูตามธรรมชาติจะสูญเสียมวลกระดูกร้อยละ 1 – 2 ต่อปี หรือในบางรายอาจมากถึงร้อยละ 3 ต่อปี

6. การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด แนวโน้มจะเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจาก

  • การเปลี่ยนแปลงของโคเลสเตอรอล
  • การเปลี่ยนแปลงในกลไกการแข็งตัวของเลือด
  • การเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิสของ glucose ทำให้เป็นเบาหวานมากขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงระบบอื่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

7. การเปลี่ยนแปลงระบบประสาทส่วนกลาง

  • หลงลืมง่ายสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

8. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง

  • คอลลาเจนของผิวหนังจะลดลง

9. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ

  • มวลกล้ามเนื้อลดลง มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้มาก

แนวทางการดูแลรักษาอาการและปัญหาในวัยหมดระดู

1. ไม่ได้รักษาด้วยยา

  • ออกกำลังกาย
  • การทำสมาธิ

2. การรักษาด้วยยา

  • กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • กลุ่มที่ไม่ใช้ฮอร์โมนทดแทน

การใช้ฮอร์โมนทดแทน

ต้องพิจารณาจากข้อบงชี้ คือ

1. การรักษาอาการในวัยหมดระดู โดยเฉพาะกลุ่มอาการ Vasomo tor และอาการทางอวัยวะสืบพันธุ์

2. การป้องกันกระดูกกร่อนลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนและควรใช้ฮอร์โมนขนาดที่ยังคงประสิทธิภาพ และใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันพบว่า หลังจากใช้ฮอร์โมนบางอย่างนานเกิน 5 ปี พบความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น, โรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เส้นเลือดในสมองอุดตันเพิ่มขึ้น, เพิ่มความเสี่ยงต่อหลอดเลือดอุดตันที่ปอด