ทำอย่างไรเมื่อลูกติดเกมส์

สัญญาณเตือนว่าลูกเสพติดเกมมากเกินไป!

  1. ละเลยกิจกรรมละปัจจัยพื้นฐานของชีวิต เริ่มตื้อร้องไห้งอแง เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำกิจกรรมอื่น ๆ
  2. ตัดขาดจากเพื่อนและครอบครัว ไม่อยากไปโรงเรียนหรือออกไปเล่นกับเพื่อน แต่ต้องการอยู่บ้านเพื่อเล่นเกมส์
  3. ไม่สามารถจะนั่งนิ่งเมื่อเวลาออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยขอมีแท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน  เป็นตัวช่วยโดยวางไว้ตรงหน้าเสมอ
  4. ไม่ยอมทำการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมาย

วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกติดเกมส์

          ฝึกให้เด็กควบคุมตนเองได้ ต้องฝึกตั้งแต่เด็กยังเล็กด้วยวิธีการต่อไปนี้

กำหนดกติกา ก่อนที่จะให้ลูกเริ่มเรียนรู้คอมพิวเตอร์และการเล่นเกมส์ พ่อแม่ควรกำหนดกติกา และขอบเขตการเล่นเกมส์ที่ชัดจนกับลูก เช่น ลูกสามารถล่นเกมส์ในวันธรรมดาได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง หรือเล่นเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์เท่านั้นในเวลาไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมง ให้เล่นสลับกันระหว่างที่น้องคนละวัน ให้ทำการบ้านหรืองานอื่นๆ ให้เสร็จก่อนจึงจะเล่นเกมส์ได้เป็นต้น การกำหนดชอบเขตการเล่นเกมส์นี้ ควรเริ่มทำตั้งแต่ลูกยังเล็ก ควบคู่กับการฝึกวินัยในเรื่องอื่นๆ เช่น การเข้านอนและตื่นเป็นเวลา การรู้จักจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ การกลับบ้านตรงเวลา เป็นต้น

เกมส์คล้ายยาเสพติด ผลที่เกิดขึ้นกับสมองก็เหมือนติดยา เพราะเกมส์จะข้าไปกระตุ้น ส่วนที่เกี่ยวข้อง กับความพึ่งพอใจในสมองให้ทำงาน และมันก็จะเร้าสมองเรื่อยๆ ตลอดเวลา จนกระทั่งติด และเมื่อติดแล้ว สมองก็จะเริ่มส่งสัญญาณความต้องการ อยากได้สิ่งเร้าเข้าไป เพื่อก่อให้เกิดความสนุก

            อันที่จริง เกมส์, แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ก็ไม่ได้มีแต่ด้านลบเสมอไป เพราะเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันใครได้เริ่มก่อนย่อมเกิดประโยชน์ก่อน และยังมีเกมส์อีกมากมายที่สร้างสรรค์และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็ก แต่ว่า ควรมีขอบเขตและวินัยในการเล่นที่พอเหมาะ

ในเด็กเล็กพ่อแม่อาจเป็นผู้กำหนดกติกาว่า อะไรเป็นสิ่งที่ลูกควรทำ และ ไม่ควรทำ แต่สำหรับเด็กโต และ  เด็กวัยรุ่นการกำหนดกฎกติกาโดยพ่อแม่ฝ้ายเดี่ยวอาจไม่ได้ผล จึงควรให้เด็กร่วมกำหนดกติกากับพ่อแม่ที่ยอมรับกันทั้งสองฝ้าย โดยพ่อแม่จูงใจให้ลูกเห็นผลตีจากการกำหนดกติกา  ร่วมกันกำหนดข้อตกลง และการลงโทษที่ชัดเจนว่า เมื่อลูกไม่ทำตามข้อตกลง ลูกจะถูกลงโทษอย่างไร เช่น พ่อแม่จะเตือนก่อน ครั้งที่ 1, ครั้งที่ 2 และในครั้งที่ 3 ลูกจะถูกลงโทษ เช่น ถูกตัดค่าขนม ให้ทำงานเพิ่มขึ้น ในเด็กเล็กอาจกำหนดโทษด้วยการตี แต่ควรตีพอให้ลูกได้จดจำความผิดเท่านั้น ไม่ควรทำบ่อยนัก และไม่ตีโดยใช้อารมณ์ สิ่งสำคัญคือ เมื่อกำหนด

กฎกติกาใดๆ พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้ลูกและเอาจริงในการควบคุมให้ลูกปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วย กฎกติกานั้นจึงจะได้รับการยอมรับจากลูก

ฝึกวินัยและความรับผิดชอบ

พ่อแม่ควรมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ลูกช่วยงานในบ้านเช่น รดน้ำตันไม้ ล้างจาน กรอกน้ำใส่ขวด เป็นตัน ควรให้ลูกมีส่วนเลือกงานที่เขาอยากทำ และพ่อแม่ต้องกำกับดูแลให้ลูกทำให้สำเร็จ ลูกจะได้เรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบ รู้จักควบคุมตัวเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำ และเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อตัวเอง แลครอบครัว

เสริมสร้างความภาคภูมิใจ

เด็กที่มีความภาคภูมิใจในตัวเองจะมีแรงจูงใจที่จะทำดีและทำสิ่งต่างๆ  ให้สำเร็จ การเสริมสร้างความภาคภูมิใจที่พ่อแม่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ  และเห็นผลชัดเจน คือ การจับถูก โดยพ่อแม่ ควรหมั่นมองด้านดีหรือด้านบวกแม้เล็กน้อยในตัวลูก แล้วพูดชื่นชมให้เจ้าตัวรับรู้ เช่นเดียวกับการบอกให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย และควรชื่นชมในสิ่งที่ลูกทำจริง ไม่เยินยอเกินจริงเช่น ลูกน่ารักมากที่กลับบ้านตรงเวลา หรือ ลูกเก่งมากที่ควบคุมอารมณ์ได้ แม่ภูมิใจที่ใครๆ ก็ชมว่าลูกพูดจาไพเราะ” คำชมจากพ่อแม่ช่วยให้ลูกมีกำลังใจและร่วมมือในการแก้ไขปัญหามากขึ้น

สนับสนุนงานอติเรกที่สร้างสรรค์

เด็กที่ติดเกมส์จำนวนมาก เริ่มเล่นเกมส์เพราะเด็กรู้สึกเหงาและไม่มีอะไรทำในเวลาว่าง การมีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างความสุขแบบไม่มีพิษภัย จะช่วยให้เด็กเพลิดเพลินและไม่เหงา การห้ามเด็กที่ติดเกมส์แล้วให้เล่นเกมส์ลดลงนั้น จะประสบความสำเร็จได้ยาก หากเด็กไม่มีกิจกรรมสร้างสรรค์รองรับ เด็กก็จะไม่มี

ทางออกอื่น และตัดใจจากการเล่นเกมส์ได้ยาก พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้  โดยช่วยลูกให้คันหาความถนัด ความสนใจของตนเอง และสนับสนุนให้ลูกได้มีโอกาสทำกิจกรรมนั้น เมื่อเด็กได้พบความสุขจากกิจกรรมสร้างสรรค์ เขาก็ใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่ามากขึ้น และค่อยๆ ลดเวลาในการเล่นเกมส์ จนกระทั่งสามารถควบคุมตัวเองในการเล่นเกมส์ได้ดี

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

ครอบครัวที่มีการเอาใจใส่กันและกัน พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีเวลาเอาใจใส่ พูดคุย และทำกิจกรรมที่สร้างความสุขร่วมกับลูก จะช่วยให้พ่อแม่และลูกมีความผูกพันกัน พ่อแม่สามารถบอกสอน และชี้แนะสิ่งต่างๆ กับลูก โดยลูกก็จะเต็มใจรับฟัง และยอมทำตามพ่อแม่ซึ่งย่อมเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ลูกต่อปัญหาทุกเรื่อง

การให้ความใส่ใจ ให้เวลา และฝึกหัดลูกอย่างถูกวิธีนี้ อาจเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องเหน็ดเหนื่อยในระยะแรกๆและต้องใช้ความอดทนในการดูแลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เสมือนกับการที่ปลูกต้นไม้ เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติของต้นไม้ และรู้จักดินฟ้าอากาศแวดล้อมให้การดูแลรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดแมลง อย่างพอเหมาะ

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์