มะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตรวจพบเร็ว รักษาได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นทุกปี โดยจากสถิติของประเทศไทยล่าสุดพบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตสูง เป็นอันดับสามของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง รองจากโรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ลำไส้ใหญ่ทุกๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ใหญ่ที่อยู่ในช่องท้อง หรือลำไส้ใหญ่ ส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน ที่เรียกว่า ไส้ตรง อันที่จริงแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่ของทั้งสองส่วนจะมีลักษณะโรคและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันบ้าง แต่สาเหตุการตรวจวินิจฉัยและระยะโรคจะคล้ายคลึงกัน ตำแหน่งที่พบว่าเป็นมะเร็งประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ที่บริเวณไส้ตรง อีก 1 ใน 3 อยู่ที่ลำไส้ขดขวาและขดท้าย ส่วนที่ทวารหนัก พบร้อยละ 1-2 ของทั้งหมด

สาเหตุของเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

          ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุ หรือ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกัดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้สูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่เป็นตั้งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังบาชนิดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าปกติ 15-20 เท่า ปัจจุบัน

พบว่ามียีนส์ที่เกี่ยวข้องกับหารเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่หลายชนิด ได้แก่ MSH2, MUH1 และ PMS2

  • ปัจจัยทางด้านอาหาร

การรับประทานาหารที่มีไขมันสูง หรือาหารที่ขาดใยอาหารทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบมากขึ้นในกรงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษและอาหารการกินของผู้บริโภคที่นิยมกานอาหารฟาสต์ฟู้ดมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการดื่มสุราหรือเบียร์อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ รวมทั้งการสูบบุหรี่ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน

5 อาการ สัญญาณ มะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เสียชีวิตสูงถึง 6,845 รายต่อปี และ ทุกปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ถึง 11,496 ราย

  1. ท้องผูกสลับท้องเสีย
  2. อุจาระมีมูกเลือด สีดำคล้ำ หรือ แดง
  3. ลักษณะอุจาระ เรียวยาวกว่าปกติ
  4. รู้สึกถ่ายอุจาระไม่สุด
  5. อ่อนเพลีย หรือ อ่อนแรง

การรักษา

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับระยะของโรคขณะเริ่มต้นรักษา ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น การตรวจอุจจาระซึ่งทำได้สะดวก รวดเร็ว และสิ้นเปลืองน้อย หรืออาจตรวจลำไส้ละเอียดมากขึ้นด้วยการสวนสารที่ทึบแสงลอดจนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ในการเลือกใช้ที่แตกต่างกัน

การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาหลังของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ถ้าเป็นมะเร็งที่ลกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดอยู่กับทวารหนัก การพาตัดอาจมีความจำเป็นต้อทำทวารเทียม โดยเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทมหน้าท้องเป็นทางให้อุจาระออกปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือชนิดลวดเย็บมาช่วยต่อลำไส้ ทำให้สามารถพาตัดมะเร็งที่อยู่ต่ำ โดยอยู่เหนือรูทวารหนักเพียง 4-5 เซนติเมตรได้โดยไม่ต้องทำทวารเทียมมะเร็งขอลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดอยู่กับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมโดยเอาปลายลำไส้ ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกตรงหน้าท้องเป็นทางที่อุจารออก ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือชนิดลวดเย็บมาช่วยต่อลำไส้ทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งที่อยู่ต่ำ โดยอยู่เหนือรูทวารหนักเพียง 4 – 5 เซนติเมตร ได้โดยไม่ต้องทำทวารเทียม

รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการฉายรังสีใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง งายติดต่อกัน 5 วัน ใน 1 สัปดาห์

ยาเคมีบำบัด อาจให้ก่อนการผ่าตัด และ /หรือ หลังผ่าตัด ร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ การให้ยาเคมีบำบัด ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป

นอกจากนี้ การติดตามผลการรักษาก็ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก หลังการรักษาควรไปตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตรวจว่ามะเร็งกลับเป็นมาซ้ำหรือไม่ เพื่อที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์จะตรวจร่างกายตรวจหาเลือดในอุจจาระ X-ray เจาะเลือด ผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอเละควรนำญาติหรือผู้ให้การดูแลมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมปรึกษาวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม